Sunday, June 22, 2014

เคล็ดลับการนอนเพื่อรักษาสิว

           สวัสดีครับทุกท่านนุชาอาจจะเคยเขียนเล่าเกี่ยวกับประโยชน์ของการนอน มามากมายว่าดีอย่างนั้นอย่างนี้ และการนอนเร็วสามารถทำให้สิวหายเร็วได้ หรือไม่ทำให้สิวขึ้นได้ด้วย อีกครั้ง จะทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น โดยรวมแล้วก็คือ ทำให้สุขภาพของเราดีขึ้นนั้นเอง

          แต่นุชา.. คิดว่าหลายๆ คน คงไม่ทราบแน่นอนว่า การนอนที่ได้ผลดีนั้นต้องมีวิธี หรือ เคล็ดลับ อย่างไร ไม่ใช่แค่หัวถึงหมอน แล้วนอนแน่นอนครับ จากการทดลองปฏิบัติที่นุชา ทดลอง และปฏิบัติมานาน นุชาทำมากับตัวเอง นุชาเลยอยากนำมาแบ่งปันให้ทุกๆ คนทราบกันครับ ว่าต้องทำอย่างไรให้ถูกต้องนะครับ


สิ่งที่นุชาได้ทดลองปฏิบัติที่นุชาอยากนำมาเล่า นุชาได้ปฏิบัติดังนี้นะครับ 

        1. นอนช่วง 3 - 4 ทุ่ม หลายคนคงอาจจะเคยได้ยิน นักธรรมชาติบำบัด หรือ กูรูด้านสุขภาพ มามบ้างแล้วว่าการนอนช่วงเวลานี้ทำให้เราสุขภาพดี ส่วนมากจะแนะนำนอนช่วง 4 ทุ่ม และไม่ เกิน 5 ทุ่ม เหตุผลที่ว่าต้องนอนก่อน 5 ทุ่ม

           ก็คือ 5 ทุ่ม - ตี 1 ช่วงนี้เป็นช่วงที่ตับกำลังทำงาน ในการขับสารพิษนั่นเองครับ หากเรานอนดึกกว่านี้ การทำงานของตับจะทำงานได้เป็นไปอย่างไม่มีประสิทธิภาพ และทำให้ตับทำงานหนักได้ และระบบการขับสารพิษในร่างกายทำงานไม่เต็มที่ ส่งผลทำให้เกิดสารพิษสะสมในร่างกาย และท้ายที่สุดอาจจะทำให้เกิดสิวได้ในที่สุดครับ

         และจากการศึกษาหนังสือ ธรรมชาติช่วยชีวิต เขียนโดย Dr.Tom Wu ดร.ด้านโภชนาการและการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติจากสหรัฐอเมริกา ตีพิมเมื่อ พ.ศ. 2555 กล่าวว่า " ช่วงเวลา สองทุ่ม ถึง ตีสี่ เป็นเวลาที่ร่างกายซ่อมแซมตัวเองและแจกจ่ายสารอาหาร" ซึ่งสอดคล้องกับที่นุชาได้ศึกษาและเข้าใจมา

        จากสองทุ่มถึงตีสี่ ตับที่ซึ่งผ่านการดูดซึมและสะสมสารอาหารไว้ จะเริ่มทำการแจกจ่ายสารอาหารไปยังอวัยวะต่างๆ พร้อมกับส่งมอบพลังงานให้แก่อวัยวะต่างๆ ทดแทนส่วนที่ใช้ไปแล้วในหนึ่งวัน โดยเฉพาะช่วงเวลาสี่ทุ่มถึงตีสองเป็นเวลาที่ระบบภูมิคุ้มกันและระบบรักษาตัวเองทำงาน หรือ เป็นช่วงเวลาทอง ของการนอนหลับ ทั้งยังเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเมลาโทนนิน (ฮอร์โมนแห่งความอ่อนเยาว์) จะควบคุมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันและระบบรักษาตัวเองได้ดีที่สุด

     2. ไม่ทานมื้อหนักในตอนดึก
ในช่วงเวลานี้แน่นอนครับว่า เป็นช่วงเวลาที่ร่างกายต้องการพักผ่อน กระเพราะของเราจะไม่สามารถคัดหลั่งน้ำกรด และลำไส้จะไม่สามารถดูดซึมและย่อยอาหารได้หมด หากเราทานมื้อหนักในช่วงเวลานี้ลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ จะมีของเสียสะสมจนถึงตอนเช้า และ เข้าสู่วันต่อไป ถึงแม้ว่าเราจะถ่ายของเสียในช่วงเวลาตอนเช้าออกมาแล้ว แต่ของเสียก็จะออกมาไม่หมดครับ (หรือเรียกว่าถ่ายไม่สุด)

     3.ควรปิดไฟในห้องขณะนอนหลับ
ระบบภูมิคุ้มกันจะทำงานเพื่อซ่อมแซมและกำจัดเชื้อโรคทั่วร่างหายระหว่างเวลา 4 ทุ่ม ถึง ตีสองทุกวัน ในขณะเดียวกันระบบภูมิคุ้มกันและระบบรักษาตัวเองก็จะชาร์จไฟเติมพลังงานในช่วงเวลานี้เช่นกัน เพื่อจะได้ทำหน้าที่ทำลายข้าศึกและซ่อมแซมบาดแผล

       ควรจะนอนหลับในขณะที่ร่างกายซ่อมแซมตัวเอง และต้องอยู่ในความมืดที่สมบูรณ์และทำให้ห้องมืิดสนิท อย่างให้มีแสงหว่าง ยกตัวอย่างการปฏิบัติของนุชานะครับ เนื่องจากห้องของนุชา เป็นห้องชุด หมู่บ้านเอื้ออาทร นุชามาพักอาศัยกับพี่สาว ซึ่งในห้องจะมีเพียง 1 ห้องนอน ดังนั้นนุชาจึงออกมานอนข้างนอก และใช้ตู้กันเป็นห้อง เมื่อตกกลางคืน เมื่อปิดไฟ ก็ยังมีไฟหน้าเปิดหน้าตึกไฟที่สอดส่องเข้ามาในหน้าต่างทำให้ไม่มืดสนิท นุชาจึงใช้ที่ปิดตาในการปิดตา เพื่อให้มืดสนิท และทำให้หลับได้ง่ายขึ้นและทำให้เมโทลานินทำงานได้เต็มที่นั่นเองครับ



     เคยมีการทดลองในอเมริกาโดยให้ผู้เข้าทดลองนอนหลับระหว่างสี่ทุ่มถึงตีสอง แต่เปิดไฟสว่างจ้าไว้ในห้อง จากการตรวจสอบด้วยเครื่องมือทางการแพทย์พบว่าการทำงานของระบบรักษาตัวเองเกือบเท่ากับศูนย์ ส่วนระบบภูมิคุ้มกันก็ทำงานลดลงถึงจุดต่ำสุด

      ด้วยเหตุนี้ หากเราอยากขจัดความอ่อนเพลีย ทำให้ร่างกายซ่อมแซมตัวเองไปใช้ทำอย่างอื่นเด็ดขาด หากนอนไม่หลับไม่สนิทในช่วงสี่ทุ่มถึงตีสอง ต่อให้มีเวลานอนยาวนานเพียงไรก็ส่งผลในการซ่อมแซมและฟื้นฟูร่างกายเพียงเล็กน้อย เซลล์ที่ถูกทำลายจะไม่สามารถฟื้นฟูร่างกายเพียงเล็กน้อย เซลล์ที่ถูกทำลายจะไม่สามารถฟื้นฟูให้หายขณะืี่ข้าศึก (เชื้อโรค) ที่รุกเข้ามาในร่างกายมีโอกาสฝังตัวอยู่


พูดถึงเมลาโทนิน กันซักหน่อยนะครับ  เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่หลังออกมาจากไพเนียลบอดี (Pineal Body) สมอง เป็นสมอง เป็นสารที่สกัดได้เป็นครั้งแรกจากไพเนียลบอดีของวัว ในปี ค.ศ 1985 ปัจจุบันพบว่าฮอร์โมนชนิดนี้ช่วยกระตุ้นการนอนหลับ ปรับจังหวะเวลาของร่างกาย (นาฬิกาชีวิต) เกี่ยวกับกลางวันและกลางคืน ส่งผลต่ออารมณ์ ช่วนต้านออกซิเดชัน กำจัดอนุมูล อิสระ รวมทั้งกระตุ้นการสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวแบบที และปล่อยไซโทคิน (Cytokines) เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย และมีบทบาทในการต้านมะเร็ง

งานวิจัยในประเทศไทย

                งานวิจัยในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับสารเมลาโทนินที่ข้าพเจ้าได้ค้นคว้ามา  มีดังนี้


  1. รศ.ดร.ศักรินทร์  ภูมิรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี  และบริษัท  แดรี่โฮม  จำกัด  ได้ทำการศึกษาและวิจัยน้ำนมพาสเจอไรซ์ที่ผลต่อการนอนหลับ  พบว่า  การเปลี่ยนวิธีการรีดนมวัวในช่วงเวลาที่ไม่มีแสงสว่างทำให้ได้สารเมลาโทนินบริสุทธ์ที่มีคุณภาพมาก ช่วยทำให้ผู้ป่วยที่มีปัญหาการนอนหลับ  ชะลอชรา  และป้องกันความเหี่ยวย่นไขมันต่ำกว่านมทั่วไปถึง 1 ใน 3 เท่าของนมปกติ  ขณะนี้ได้ขอจอสิทธิบัตรกรรมวิธีการผลิตเรียบร้อยแล้วและอยู่ในระยะขอจดทะเบียนยา (อย.) อีกด้วย
  2. สารอาหารอีกอย่างหนึ่งที่มีสารเมลาโทนินคือ  “น้ำมันจมูกข้าว”  จากการศึกษาค้นคว้าวาของนักวิทยาศาสตร์และแพทย์  ในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษพบว่า  ฮอร์โมนเมลาโทนินสร้างขึ้นในร่างกายของคนเรา  โดยสร้างจากต่อมไพเนียลในสมอง  เมลาโทนิน  จะสร้างออกมาในช่วงเวลกลางคืน  เมื่อคนเราอายุมากขึ้นเมลาโทนินจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่ออายุ  50 ปี เมลาโทนินจะมีน้อย
    หรือไม่มีเลย
  3. จากการวิจัยในทางการแพทย์  พบว่า  เมลาโทนิน  มีความสำคัญต่อสุขภาพของคนเราดังนี้ ควบคุมการนอนหลับ  ช่วยให้สมองทำงานได้ดีขึ้น  ไม่เครียด  ไม่วิตกกังวล  ป้องกันและรักษาโรคสมองเสื่อม  โรคพาร์กินสัน  แก้ไขอาการหลงลืม  หงุดหงิด  เป็นสารต่อต้านอนุมูลอิสระ  ช่วยให้ภูมิคุ้มกันทำงานได้ดีขึ้น  จึงช่วยผู้ป่วย HIV ได้มาก  เสริมการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในคนสูงอายุ  ป้องกันและเสริมการรักษาโรคมะเร็ง  แก้ไขอาการเจ็ทแล็ก  (JIT- - LEG)  แก้ไขอาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ  เพราะร่างกายได้รับการพักผ่อนอย่างเพียงพอ  และไม่รู้สึกเครียด  ไม่รู้สึกวิตกกังวล  สมรรถภาพทางเพศจึงดีขึ้น
  4. ศาสตราจารย์ นายแพทย์อนันต์  ศรีเกียรติขจร  ภาควิชาสรีรวิทยา   คณะแพทยศาสตร์   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ศึกษาสารเมลาโทนิน พบว่า สารเมลาโทนินสามารถยับยั้งการเพิ่มของการไหลเวียนเลือดที่ผิวสมอง และลดการเปลี่ยนแปลงของหลอดเลือดจุลภาค นอกจากนี้สารเมลาโตนินยังสามารถยับยั้งการแสดงออกของโปรตีนฟอส และเอนไซม์ไนตริกออกไซด์ซินเทสในกลุ่มเซลล์ไทรเจมมินาล นิวเคลียสคอดาลิส ผลการศึกษานี้บ่งว่าสารเมลาโทนินสามารถยับยั้งผลของปรากฏการณ์คอร์ติคอลสเปรดดิงดิเพรสชันในการกระตุ้นระบบความปวดไทรเจมมินาล และอาจเป็นประโยชน์ในการป้องกันหรือบรรเทาอาการปวดในภาวะปวดศีรษะไมเกรน


22 มิถุนายน 2557 
กรุงเทพฯ


แหล่งอ้างอิง

- ประสบการณ์ของนุชาเอง
- นังสือ ธรรมชาติช่วยชีวิต เขียนโดย Dr.Tom Wu ดร.ด้านโภชนาการและการรักษาด้วยวิธีธรรมชาติจากสหรัฐอเมริกา ตีพิมเมื่อ พ.ศ. 2555 
- http://www.gotoknow.org/posts/304967

การนอนรักษาสิว, สิวนอนดึก, นอน, สิวนอน, นอนดึกสิว, 

No comments:

Post a Comment