นุชาได้มีโอากาสได้อ่านหนังสือ ที่พี่พิมแฟนเพจของนุชา แนะนำมา ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับผิวหนังโดยเฉพาะ
ซึ่งคุณหมอได้อธิบายแบบละเอียดมาก ซึ่งบางเรื่องนุชาไม่เคยทราบข้อมูลแบบเจาลึกเลย นุชาจึงขอยกความรู้ที่ได้มาแบ่งปันให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันและสุดท้ายจะเป็นความเห็น และประสบการณ์ที่นุชาได้ทดลองให้เพื่อนๆ ได้ทราบข้อเท็จจริงกันครับ
ในแสงอาทิตย์ประกอบด้วยรังสี (มองไม่เห็น) และแสงที่มีความยาวคลื่นต่างๆ มากกมาย บางส่วนมาไม่ถึงพื้นโลก ส่วนที่มาถึงพื้นโลก หลักๆ ได้แก่
Infrared คือ คลื่นความร้อน ความยาวคลื่น 700 nm. - 1 มม.
Visible light คือแสงรุ้ง 7 สี ความยาวคลื่น 380 nm. - 760 nm.
UVA ความยาวคลื่น 315 nm. - 380 nm.
UVB ความยาวคลื่น 280 nm. - 315 nm.
รังสีที่มีความยาวคลื่นยิ่งน้อย ยิ่งพลังงานสูง ยิ่งอันตราย เช่น UVA และ UVB
ดังนั้น ครีมกันแดดจึงมีบทบาทตรงนี้ มันมีคุณสมบัติดูดซับและสกัดกั้นรังสี UVA หรือ B หรือทั้งคู่ แล้วแต่สูตรที่ใช้
อย่างที่เราทำอยู่เป็นประจำตามสัญชาตญาณ ถ้าไม่อยากโดนแดด ให้เข้าร่ม ที่ร่มแปลว่าเราอยู่ในร่มเงาของวัตถุที่ทึบแสง เช่น ในตัวตึก ผนังตึก กำแพง ใต้ร่มไม้ ใต้เต้นท์ ในตัวบ้าน ในรถ ถือร่ม สุดท้ายไม่มีของอะไรจะใช้ เอาผ้าขาวม้า กระดาษหนังสือพิมพฺ หรือ กิ่งไม้ ใบไม้ อะไรก็ได้ที่ทึบแสง
ก็สามารถป้องกันรังสี UV ได้
แต่เมื่อมนุษย์เรามีกิจกรรมกลางแจ้ง เช่น อยากจ๊อกกิ้ง อยากเล่นเทศนิส อยากว่ายน้ำ ออกไปเดินเล่น ไปตีกอล์ฟ เราไม่สามารถเอา "วัตถุทึบแสง"
ติดตัวไปด้วย จึงต้องประยุกต์ใช้เป็นครีมกันแดด
ซึ่งทำหน้าที่แทนวัตถุทึบแสง มากันแดให้เรา แล้วจะเลือกครีมกันแดดอย่างไรดี
เลือกค่าที่มี SPF (Sun Protection Factor)?เลือกชนิดที่ทึบแสง หรือไม่ทึบแสงดี ?เลือกชนิดที่กันน้ำได้ (Water resistance) หรือไม่จำเป็น ?
SPF คือการเปรียบเทียบว่า เมื่อทายากันแดดแล้ว ผิวหนังจะทนแดดได้ดีกว่าไม่ทากี่ท่า วัดที่ผิวเริ่มมีอาการไหม้จากแสงแดดหน่ายเป็นนาที
สมการ SPF = MED เมื่อทาครีมกันแดด
_________________________
MED เมื่อไม่ทาครีมกันแดด
MED (minimal erythema dose) คือปริมาณแสงที่น้อยที่สุดที่ทำให้ผิวเริ่มไหม้ เวลาวัดเขาจะใช้พลังงานแสงจำนวนหนึ่งที่กำหนดตายตัว เป็นค่ามาตรฐาน แล้วฉายลงบนผิวหนังในพื้นที่ที่กำหนดจนผิวเริ่มมีอาการแดงก็หยุด จัวเวลาเป็นนาที ทำสองจุดพร้อมๆ กัน จุดหนึ่งทาครีมกันแดด จุดหนึ่งไม่ทาครีมกันแดด
สมมติว่า
เมื่อทาครีมกันแดด
กว่าผิวจะแดงไหม้ ใช้เวลา 30 นาที
เมื่อไม่ทาครีมกันแดด
กว่าผิวจะแดงไหม้ ใช้เวลา 5 นาที
ดังนั้น SPF ขอบครีมกันแดดชนิดนี้ = 30/5 = 6
สมมติ ณ เวลา 12.00 น. เดือนเมษายน เป็นแดดที่แรงที่สุดในรอบปีของประเทศไทย เอาผิวคนไทยไปตากแดดแบบนี้ สมมติได้ 20 นาที กว่าผิวจะแดงไหม้ แล้วเราทาครีมกันแดดแบบนี้ สมมติได้ 20 นาที กว่าผิวจะแดงไหม้ แล้วเราทาครีมกันแดดที่มี SPF 15 แปลว่า เราอาจออกแดดได้นานถึง 20x15 =300 นาที กว่าผิวจะไหม้
วิธีคิดแบบนี้ไม่ถูกต้อง 100% เพราะปริมาณแสงแดดในแต่ละช่วงของวัน จะมีความผันแปรไม่ค่อยเท่ากันโดยเฉพาะ UVB และ SPF ทีเขาทำมาใยผลิตภัณฑ์ เขาใช้แสงจากห้องทดลอง
ไม่ใช่แสงอาทิตย์ เราเอาตัวเลขนี้มาใช้แบบคร่าวๆ ก็พอทำใได้
และมีเงื่อนไขอีกกว่ายากันแดดที่ทาต้องมีความหนาระกับหนึ่ง และครีมต้องไม่หลุดลอกจากเหงื่อ หรือถูกเช็ดออกมาซับเหงื่อ
แล้ว SPF 15 20 30 50 ต่างกันแค่ไหน
SPF 15 จะกันแดดได้ = 15/16 = 93.75%
SPF 20 จะกันแดดได้ = 20/21 = 95.2%
SPF 30 จะกันแดดได้ = 30/31 = 96.7%
SPF 50 จะกันแดดได้ = 50/51 = 98%
จะเห็นว่าครีมกันแดดตั้งแต่ SPF 15 ขึ้นไป มีการกันแดดเพิ่มขึ้นไม่มากอย่างที่เข้าใจ
ถ้าคุณไม่ได้ตั้งใจอาบแดดเพื่อ exose บางส่วน (และกันบางส่วน) หรือจำเป็นต้องออกกลางแจ้งเป็นเวลานานๆ ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ SPF มากกว่า 15
ครีมกันแดด SPF 15-16 เป็นครีมกันแดดทั่วไปที่ทำขายมากที่สุด โดย SPF ที่กำหนดเป็น SPF สำหรับ UVB เท่านั้นเพราะ UVA ทำให้เกิด sunburn ได้ช้ากว่ามาก จึงไม่มีความหมายในการกำหนดค่า SPF ของ UVA
แต่ครีมกันแดดยุคใหม่มีการปรับปรุงสูตรและเน้นการป้องกัน UVA มากขึ้น เพราะมีข้อมูลในภายหลังว่า UVA มีผงต่อผิวหนังระยะยางมากเหมือนกัน
ผลิตภัณฑ์ของประเทศอังกฤษ ให้เป็น "*"
* ป้องกัน UVA ได้ บ้าง
*** ป้องกัน UVA ได้ ปานกลาง
**** ป้องกัน UVA ได้ สูงสุด
ผลิตภัณฑ์ของญี่ปุ่นใช้ระบบ PA (The Protection grade of UVA)
PA+ = SPF สำหรับ UVA* = 2-4
PA++ = SPF สำหรับ UVA = 4-8
PA+++ = SPF สำหรับ UVA = น้อยกว่าหรือเท่ากับ - 8
*ค่า SPF ของ UVA เป็นเพียงค่าสัมพัทธ์ ไม่ใช่ค่าที่แท้จริง ไม่เหมือน SPF ที่ใช้กับ UVB
ครีมกันแดดที่กัน UVA ได้ด้วย จะใช้คำว่า Broad spectrum UV protection
ผลิตภัณฑ์ Sunblock หมายถึง ผลิตภัณฑ์กันแดดที่ทึบแสง สารออกฤทธิ์เป็นอนินทรียวัตถุ ไม่ได้ทำปฏิกิริยากับรังสี UV ใช้ปกป้อง สกัดกั้น หรือสะท้อนกลับ โดยใช้ผงไทเทเนียมไดออกไซด์ หรือ ซิงค์ออกไซด์ มักใช้สูตรกันน้ำด้วย จึงติดผิวได้นาน และตัวสารอนินทรีย์จะไม่เสื่อมสภาพเมื่อเจอกับรังสี UV จึงคงอยู่บนผิวได้นาน
ปกป้องได้ทั้ง UVA และ UVB
ดินสอพอง ที่เราใช้ปะหน้าในเทศการสงกรานต์ ก็เข้าข่ายเป็น Sunblock
แต่ครีมทึบแสงทาแล้วไม่สวย เพราะสีผิวของเราถูกกลบไปด้วยจึงต้องเลือกสีให้เข้ากับลักษณะการใช้งาน ถ้าใช้ในออฟฟิต ให้ใช้สีขาว หรือ สีเนื้อ เมื่อปัดหน้าทาแป้งอีกหน่อย
ก็ดูเป็นธรรมชาติ คุณผู้ชายจะใช้สูตรนี้ ต้องทาบางอีกหน่อย
ผลิตภัณฑ์ Suntan มีสองลักษณะ คือเป็นผลิตภัฑณ์กันแดดที่มีค่า SPF ต่ำ ตั้งใจให้ได้สัมผัสกับแสงบ้าง เพื่อปกป้องไม่ให้เกิด sunburn แต่ยอมให้ได้รับแสงบ้างเพื่อให้ผิวคล้ำขึ้นจากแสงแดดแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนผลิตภัณฑ์อีกแบบหนึ่งเขาใส่สาร ให้สีลงไปด้วย เมื่อสัมผัมกับแสงแดดจะเกิดสีเคลือบผิวออกเป็นน้ำตาลแดง เป็นการช่วยให้สร้างสีผิวให้ดู tan เร็วขึ้น และได้สีตามที่ต้องการ
ประสบการณ์และคำแนะนำการเลือกใช้กันแดดสำหรับคนเป็นสิวจากนุชา
จากการรักษาสิวด้วยตนเองตลอดระยะเวลา 5 ปี ทีผ่านมา นุชาพบว่า ครีมกันแดดส่วนใหญ่ตามท้องตลาดมักจะออกแบบมาสำหรับผิวทั่วไป และมีส่วนผสมของซิลิโคน และ น้ำมัน ซึ่งก่อให้เกิดการอุดตัน สำหรับผิวที่เป็นสิว และมีแนวโน้มเป็นสิวครับ
สำหรับกันแดดที่นุชาคิดว่าค่อนข้างเหมาะสมกับผิวหน้า อยู่ที่ SPF 30 - 50 ครับ เพราะเนื้อผลิตภัณฑ์ค่อนข้างที่จะบางเบา และไม่เหนียว ถ้ามีค่า SPF มากกว่า SPF 50 ขึ้นไป เนื้อจะหนืดและเหีนยวเวลาทาหน้าครับ ซึ่งต้องเลือกสูตรที่ออกแบบมาสำหรับผิวแพ้ง่ายเป็นสิวจะเหมาะที่สุดครับ
|
ภาพ ปี 2553 และ ปี 2557 |
ครีมกันแดดเป็นเคล็ดลับของการดูแลผิวของนุชา ที่เป็นผลิตภัณฑ์หลักที่ทำให้ผิวหน้าของนุชา ขาวกระจ่างใสครับ จากรูปในอดีต นุชาไม่เคยใช้ครีมกันแดดใดๆ เดินไปไหนก็ไม่พกร่ม หรือ หลบแดด จะสังเกตุได้ว่าเมื่อก่อนไม่ใช่คนผิวขาว แต่เมื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการดูแลสุขภาพ และ เลือกใช้ผลิตภัณฑ์กันแดด บำรุงผิว ที่เหมาะสมกับสภาพผิวใหม่ ผิวก็กลับมาขาวกระจ่างใส สุขภาพดี แต่ไม่ใช่ขาวซีด เพราะนุชาดูแลสุขภาพแบบธรรมชาติครับ
ในส่วนของกันแดดผิวกาย
นุชาเลือกใช้ผลิตภัณฑ์แบบไหนก็ได้ที่อยู่ในช่วงที่ลดราคา ฮ่าๆ และมีค่า SPF 80 ขึ้นไปครับ และจำเป็นต้องทาทุกวัน นุชาจะทาแค่ตอนเช้า หลังอาบน้ำเท่านั้นก็เพียงพอครับ
นุชาแนะนำกันแดดสำหรับผิวหน้าสำหรับคนเป็นสิว เป็นสูตรที่พัฒนาขึ้นใหม่สำหรับผิวเป็นสิว โดยเนื้อผลิตภัณฑ์จะอ่อนโยน บางเบา ไม่อุดตันครับ สามารถคลิกชมรายละเอียดได้ที่รูปภาพ หรือ ลิงค์ ได้ครับ
ครีมกันแดดสิว, ครีมกันแดดสำหรับคนเป็นสิว, สิว, กันแดดสิว, รักษาสิวกันแดด,
ขอขอบคุณข้อมูลและแหล่งอ้างอิงจาก
นายแพทย์หาญ วงศ์ไวศยวรรณ. ไขปริศนาโรคผิวหนังที่หายยาก. โครงการจัดพิมพ์คบไฟ, 2556
สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2539 http://happyacne2you.blogspot.com
Copyright (C) http://happyacne2you.blogspot.com All rights reserved.
รูปภาพทุกภาพ รวมถึงบทความและเนื้อหาที่ปรากฎอยู่ในเว็บไซต์ http://happyacne2you.blogspot.com
เฉพาะรูปภาพในส่วนที่เกี่ยวข้อ หากผู้ใดละเมิด ไม่ว่าการลอกเลียน หรือนำส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ไปใช้ โดยไม่ได้รับอนุญาติเป็นลายลักษณ์อักษร
จะถูกดำเนินคดี ตามที่กฏหมายบัญญัติไว้สูงสุด