Thursday, May 29, 2014

REVIEW :การทานน้ำมันมะกอก ผิวสวยสุขภาพดีขึ้นแน่นอน (เกี่ยวกับสิวด้วยนะ)



สวัสดีครับทุกคน วันนี้นุชาจะมาพูดเกี่ยวกับน้ำมันมะกอก ที่มีคุณประโยชน์มากมาย มหาศาลกันมาก จนต้องยกย่องให้เป็นน้ำมันที่มีคุณค่าอันดับ 1 ของโลก

คุณพระ !!!.......... ฟังไม่ผิดหรอกครับ 

ก็ยังคงไม่พ้นเรื่องความสวยความงาม และสุขภาพ หรอกครับ เพราะน้ำมันมะกอกมีประโยชน์มาก
มาดูกันดีกว่าว่าน้ำมันมะกอก คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง กินอย่างไร มีผลวิจัยด้านไหนบ้าง ตอบชัดเจนทุกประเด็น เครียร์ทุกคำถาม จ้า


ประวัติของน้ำมันมะกอก


มะกอกกำเนิดขึ้นที่เกาะครีตเมื่อประมาณ 6,000 พันปีมาแล้ว มีหลักฐานและตำนานมากมายที่กล่าวถึงมะกอกเอาไว้

อย่างเช่นค้นพบพวงมาลัยที่ทำจากกิ่งมะกอกซึ่งวางอยู่บนตัวมัมมี่ระหว่างเทพี อะเธน่า (Athena)
และโปสิดอน (Poseidon) เทพเจ้าแห่งท้องทะเล โปสิดอนต่อสู้ด้วยอาวุธที่แข็งแกร่งว่องไว
ในขณะที่เทพีอะเธน่าสร้างต้นมะกอกมาเพื่อเป็นตัวแทนของความสว่างไสวในยามค่ำ คืน
หรือในตำนานทายาทของพระเจ้าผู้สร้างกรุงโรม ก็ได้เห็นแสงสว่างครั้งแรกที่ใต้ต้นมะกอก

มะกอกเป็นต้นไม้ที่ทนทาน อายุยืนมากเป็นหลายร้อยปี ต้นมะกอกจึงเป็นเสมือนต้นไม้แห่งอมตะชีวิต
เป็นสัญลักษณ์ของชัยชนะ ความดีงาม ความเจริญ ฯลฯ ที่ผูกพันกับวิถีชีวิตของชาวเมดิเตอร์เรเนียนมาแต่โบราณกาล

ในศตวรรษที่ 15 ชาวสเปนได้นำมะกอกเข้ามาสู่โลกยุคใหม่ แพร่กระจายไปทั่วยุโรปตอนใต้
และตลอดแนวของชายฝั่งเมดิเตอร์เรเนียน จนกระทั่งปัจจุบันนี้อุตสาหกรรมการเพาะปลูกมะกอกได้ขยายตัวขึ้นถึง 30-40 เท่า


มะกอกหรือโอลีฟมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Olea europaea เป็นพืชในวงศ์ Oleaceae จัดเป็นผลไม้ที่มีเม็ดในแข็ง หนึ่งลูกจะมีหนึ่งเมล็ด เป็นพืชที่ทนได้ทุกสภาวะอากาศ ดอกมะกอกจะออกช่อในช่วงปลายฤดูหนาว มีดอกเล็กๆสีขาว ผลจะโตเต็มที่ประมาณ 7-8 เดือนหลังออกดอก ลำต้นจะสูงใหญ่กว่ามะกอกไทยบ้านเรามาก สูงตั้งแต่ 3 เมตร จนถึง 18 เมตร ใบเรียวยาวสีเขียวเข้ม มีหลายร้อยพันธุ์ ตัวผลจะมีรสขมและฝาด มีปริมาณสูง พอแก่จัดสีจะเปลี่ยนจากเขียวจนเป็นสีคล้ำจนเกือบดำ ถ้าจะนำไปสกัดเอาน้ำมันต้องเลือกผลแก่จัด แต่ถ้าจะนำมาบริโภคสดหรือนำไปประกอบอาหารต้องใช้มะกอกอ่อน

การนำมะกอกมากินสดนั้น มีข้อจำกัดอยู่ว่า ต้องนำมะกอกมากำจัดสารขมที่มีชื่อว่า Oleuropein ออกเสียก่อน มีทั้งนำไปแช่โซดาไฟ (Sodium hydroxide) หรือจะใช้วิธีธรรมชาติที่ง่ายที่สุดก็คือ แช่ในน้ำเกลือเข้มข้นทิ้งไว้ 1-2 วัน แล้วจึงล้างน้ำออก เพียงเท่านี้ก็สามารถกินผลสดของมันได้อย่างเอร็ดอร่อย ผลของมันนอกจากจะนิยมบริโภคสดๆแล้ว ยังนำมาดัดแปลงโดยการสอดไส้พริกพีเมียนโต หรือพริกหยวกลงไปดองกับน้ำเกลืออีกด้วย เพื่อเป็นการเพิ่มรสชาติไปอีกแบบหนึ่ง รสชาติจะออกเค็ม เผ็ดแบบปะแล่มๆ มะกอกแบบนี้พบวางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ผู้ผลิตจะนำเอามะกอกเขียวที่ยังไม่แก่จัดมาเข้าเครื่องดึงเมล็ดออก แล้วก็ยัดพริกที่ปอกเปลือกแล้วลงไป พริกที่ใช้ส่วนมากเป็นทางแถบเมืองหนาว ซึ่งไม่เผ็ดมาก ที่นิยมก็คือพริกพีเมียนโต และพริกหยวกสีแดง จากนั้นก็นำไปบรรจุขวดดองน้ำเกลือ ผลสดซึ่งผ่านการแปรรูปเหล่านี้นิยมนำมากินกับสลัด ตกแต่งจานอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารโดยหั่นเป็นชิ้นเล็กๆใส่ลงไปเพื่อเพิ่มความหอมและรส ให้อาหาร เช่น หั่นแว่นตามขวางวางบนคานาเป้ หรือแซนด์วิชเปิดหน้า หรือไม่ก็กินเล่นตามชอบ

มะกอกจัดเป็นผลไม้ที่มีน้ำมันมากที่สุด ในผลมะกอกที่แก่จัด 100 กรัม ให้น้ำมันถึง 20-30 กรัม แต่กระบวนการหีบเอาน้ำมันจากผลมะกอกมิใช่เป็นเรื่องง่ายๆ ต้องผ่านหลายขั้นตอนอย่างพิถีพิถัน เริ่มตั้งแต่การคัดและเก็บผลด้วยคนงาน เครื่องจักรทำแทนไม่ได้เลย เพราะผลมะกอกแก่ไม่พร้อมกัน อีกทั้งต้องระมัดระวังมิให้ผลเกิดเสียหายในตอนเก็บและขนส่งไปโรงงาน


การคั้นน้ำมันมะกอกที่ดีเป็น วิธีการหีบเย็น (cold press) แบบโบราณ เริ่มด้วยการโม่ผลมะกอกให้เนื้อแหลก แล้วเอาไปเข้าเครื่องหีบน้ำมันออกโดยไม่ใช้ความร้อนเข้าช่วยเลย น้ำมันที่ไหลออกมาจากการหีบครั้งแรกถือเป็นน้ำมันคุณภาพดีที่สุด มีความบริสุทธิ์เพราะเป็นน้ำมันแรก การหีบครั้งต่อๆไปต้องใช้แรงมากขึ้น น้ำมันที่ได้มีคุณภาพด้อยลง ทั้งหมดนี้ใช้เครื่องมือทำจากหินและแรงคนเป็นหลัก

ปัจจุบันมีโรงงานกลั่นน้ำมันมะกอกสมัยใหม่ที่ใช้ความร้อนและเครื่องจักรใน การโม่และกลั่นน้ำมันมะกอก แต่น้ำมันมะกอกแบบนี้มีคุณภาพไม่ดีเท่าแบบวิธีหีบเย็นแบบเก่า หลังจากหีบเอาน้ำมันมะกอกได้แล้ว ก็ต้องเอามาเก็บไว้ในห้องใต้ดินที่มีอุณหภูมิเย็นพอเหมาะเป็นเวลาหลาย สัปดาห์ เพื่อให้เศษผงต่างๆจมตัว จากนั้นจึงนำมากรองและบรรจุขวดขาย

ประเภทของน้ำมันมะกอก




สภาน้ำมันมะกอกนานาชาติ (International Olive Council : IOC) ได้แบ่งชนิดของน้ำมันมะกอกตามคุณภาพ จากปริมาณกรดในน้ำมัน ดังนี้

ชนิดบริสุทธิ์ (Virgin or Pure olive oil) ความเป็นกรดไม่เกินร้อยละ 4

ชนิดบริสุทธิ์ดี (Fine olive oil) ความเป็นกรดร้อยละ 1.5-3

ชนิดบริสุทธิ์ดีมาก (Superfine virgin olive oil) ความเป็นกรดต่ำไม่เกินร้อยละ 1.5

ชนิดคุณภาพดีที่สุด คือชนิดบริสุทธิ์พิเศษ (Extra virgin olive oil) ความเป็นกรดต่ำกว่าร้อยละ 1

" น้ำมันมะกอกในกลุ่ม Virgin มีสารฟินอลิกซึ่งเป็นสารต่อต้านมะเร็งและอนุมูลอิสระอยู่ โดยสารนี้จะเสียไปเมื่อผ่านความร้อน ดังนั้นจึงนิยมเอามาทานเปล่าๆ และใช้กับอาหารที่ไม่ต้องผ่านความร้อนครับ "
โดยทั่วไปน้ำมันมะกอกชนิดบริสุทธิ์พิเศษ (extra virgin) มีสีออกเขียวกว่าชนิดคุณภาพต่ำลงมา และถ้าจะให้ดีต้องได้มาด้วยวิธี cold press น้ำมันมะกอกคุณภาพดี ราคาแพงอย่างนี้ ควรเอามาปรุงเป็นน้ำสลัด หรือเครื่องปรุงรสของอาหารอื่น ไม่เหมาะนำมาเป็นน้ำมันสำหรับทอดหรือผัดอาหาร ซึ่งอาจใช้น้ำมันมะกอกเกรดต่ำลงมาได้ อนึ่ง น้ำมันมะกอกบริสุทธิ์พิเศษอย่าง cold press อาจเสียรสไปได้หากถูกความร้อนทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่า 60 องศาเซลเซียส

นอกจากค่าของกรดที่เป็นตัวกำหนดคุณภาพของน้ำมันมะกอกแล้ว รสชาติและกลิ่นของน้ำมันมะกอกยังแปรไปตามเขตที่ปลูก น้ำมันมะกอกจากที่เดียวกัน ก็อาจมีกลิ่นและรสชาติแตกต่างกันไปได้ ในทางปฏิบัติการซื้อขายน้ำมันมะกอกแบบขายส่งจึงต้องมีการชิมก่อนเหมือนการ ชิมไวน์อย่างไรอย่างนั้น

ส่วนประเทศที่ผลิตน้ำมันมะกอก แต่ละประเทศจะมี Character ของตัวเอง เช่น

a) Greece จะมีความข้นกว่า (Heavy Texture)
b) Spain จะมีกลิ่นและรสชาติที่แรงกว่าประเทศอื่น
c) ฝรั่งเศส (Provencal) จะมีกลิ่นหอมหวาน (Fruity)
d) Italy จะคล้ายกับ Spain จะมีกลิ่นที่เด่นกว่า เหมือนกัน

แต่ทั้งนี้ในฉลากของน้ำมันมะกอก จะมีชื่อของพันธุ์มะกอกที่ใช้ทำน้ำมันอยู่ ให้มองหา Green Provencal หรือ Tuscan Olives เพราะนี่คือมะกอก พันธุ์ดีที่สุด หรือถ้าอ่านไม่เจอ ก็เลือกตามความต้องการจากประเทศผู้ผลิตครับ

นอกเหนือจากน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์แล้ว ในท้องตลาดยังมีน้ำมันมะกอกผสม คือผสมกับน้ำมันพืชอื่นๆ ในทางปฏิบัติมีระเบียบว่าจะต้องมีส่วนผสมน้ำมันมะกอกกลั่น 5-10% จึงจะเรียกชื่อเป็นน้ำมันมะกอกผสมได้

ในทางปฏิบัติ การเลือกซื้อน้ำมันมะกอกก็เลือกตามระดับความบริสุทธิ์ที่กล่าวไปแล้ว ทางที่ดีควรเลือกแบบ cold press เรื่องรสชาติอาจแตกต่างกันไปตามยี่ห้อและแหล่งผลิต ก็ต้องลองซื้อมากินดูจนได้ที่ถูกใจ ข้อคำนึงที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งคือราคา เนื่องจากน้ำมันมะกอก extra virgin ราคาค่อนข้างสูง จึงควรเลือกใช้เฉพาะทำน้ำสลัดหรือปรุงรสอาหารเท่านั้น ยิ่งสำหรับผู้ที่เริ่มลองใช้น้ำมันมะกอกใหม่ ยังไม่ชินกับกลิ่นน้ำมันมะกอกแรงๆ ก็น่าจะลองใช้ชนิดที่คุณภาพต่ำลงมา เพราะนอกจากกลิ่นมะกอกอ่อนลงแล้ว สนนราคายังถูกอีกด้วย โดยเฉพาะถ้าทำอาหารทอด หรืออาหารผัด ก็จะเหมาะพอดีกัน

น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันทำอาหารที่ดีที่สุดสำหรับสุขภาพ แต่รสนิยมอาหารเป็นเรื่องวัฒนธรรมเฉพาะถิ่น เฉพาะสังคม การรับของดีจากวัฒนธรรมอื่นจึงต้องผ่านการเลือกและประยุกต์ใช้โดยคนใน วัฒนธรรมนั้นๆ ความรู้เกี่ยวกับน้ำมันมะกอก จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อการพิจารณาประยุกต์ใช้ ตามความเหมาะสมของวิถีครัวไทยและเงื่อนไขของแต่ละคน


ประโยชน์ของน้ำมันมะกอกที่ให้ผลดีต่อสุขภาพนั้นมีหลายประการ สรุปได้ดังนี้

*การหมุนเวียนของโลหิต น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง (arteriosclerosis) รวมทั้งภาวะอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันโรคความดันโลหิตสูง หัวใจล้มเหลว หัวใจวาย ไตวาย และเส้นเลือดใน สมองแตก

*ระบบย่อย น้ำมันมะกอกช่วยให้ระบบการทำงานของส่วนต่างๆ ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นกระเพาะอาหาร ตับอ่อน ลำไส้ และถุงน้ำดี ทั้งนี้ยังช่วยป้องกันการก่อตัวของนิ่วอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีข้อมูลบ่งชี้ว่าน้ำมันมะกอกช่วย บรรเทาอาการกระเพาะอักเสบ แผลในกระเพาะ และยังเป็นยาระบายอ่อนๆ

* ผิวหนัง น้ำมันมะกอกช่วยปกป้องหนังกำพร้า ช่วยให้ผิวหนังมีความยืดหยุ่น ซึ่งเกิดจากวิตามินอี และ สารต้านอนุมูลอิสระในน้ำมันมะกอกนั่นเอง นอกจากนี้ยังใช้ได้ผลดีในการป้องกันโรคผิวหนังและลดริ้วรอยเหี่ยวย่น

* ระบบต่อมไร้ท่อ น้ำมันมะกอกช่วยให้ระบบการเผาผลาญอาหาร (metabolic function) ภายในร่างกายทำงานอย่างมีประสิทธิภาพน้ำมันมะกอกได้กลายเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในการป้องกันและ
ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยโรคเบาหวานจากการศึกษาล่าสุดพบว่าระดับกลูโคสของผู้ที่มีสุขภาพ
ดีจะลดลง12%เมื่อรับประทานน้ำมันมะกอก

* ระบบกระดูก น้ำมันมะกอกช่วยในการเสริมสร้างกระดูก และช่วยให้ร่างกายของคนเรามีประสิทธิภาพในการดูดซึม แร่ธาตุและแคลเซี่ยมได้ดี และสามารถป้องกันโรคกระดูกพรุน

* โรคมะเร็ง น้ำมันมะกอกช่วยป้องกันเนื้องอกที่เกิดกับอวัยวะบางส่วน (เต้านม ต่อมลูกหมาก ลำไส้ใหญ่ ปีกมดลูก) ทั้งนี้เพราะกรดไขมันที่มีอยู่ในน้ำมันมะกอกนั้นช่วยยับยั้งอนุมูลอิสระ และช่วยต่อต้านการก่อตัวของ ติ่งเนื้อในอวัยวะต่างๆ ที่กล่าวมา

* สารกัมมันตภาพรังสี ภายหลังจากที่มีการค้นพบว่าน้ำมันมะกอกช่วยให้ร่างกายสามารถต้านทานสารกัมมันตภาพรังสีได้ น้ำมันมะกอกได้รับบรรจุเป็นส่วนหนึ่งของอาหารสำหรับนักบินอวกาศ

* อาหารเด็กอ่อน ด้วยสารประกอบในน้ำมันมะกอกและคุณสมบัติในการช่วยย่อยอาหาร จึงนับได้ว่าน้ำมันมะกอกเป็น ไขมันธรรมชาติที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำนมมารดามากที่สุด

*ชราภาพ การที่เรารู้จักหาวิธีการเพื่อต่อต้านอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นภายในร่างกายของเราเพื่อป้องกันภาวะความเสื่อมถอยของสุขภาพอันเนื่องมาจากอายุที่เพิ่มขึ้นนั้นนับว่าเป็นสิ่งสำคัญยิ่งจากการค้นคว้าวิจัยเราได้ทราบว่าน้ำมันมะกอกมีคุณสมบัติในการต่อต้านภาวะความเสื่อมถอยของสมองและยังช่วยยืดอายุของเราให้ยืนยาวขึ้นอีกด้วย

* ภาวะโรคหลอดเลือดหัวใจ จากการค้นคว้าวิจัยพบว่า น้ำมันมะกอกนั้นสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดเลว (LDL) ในขณะเดียวกันจะไม่ทำให้คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ลดระดับลง


ในการการรักษาสิว รีวิวผลการทานน้ำมันมกะกอกจากนุชา



ผลในด้านการรักษาสิวโดยการใช้น้ำมันมะกอก ยังไม่มีการวิจัยออกมาครับ แต่ปัจจุบันมีผลการวิจัยเกี่ยวกับการใช้น้ำมันมะกอกที่มีสาร โอลีโอแคนธัล ทีีมีผลการวิจัยไม่น่ามานี้ว่า สามารถป้องกัน ต้านและลดการอักเสบ  ได้ครับ ดังนั้นหากเรารวมไปถึง การใช้น้ำมะกอก มาใช้ในการอาการอักเสบของสิว น่าจะได้ผลดีเช่นกัน แต่ทั้งนี้ต้องอาศัยระยะเวลา ในการรักษา และต้องทานน้ำมันมะกอกอย่างสม่ำเสมอด้วยครับ  เป็รอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่สนใจในการรักษาสิวตามแนวธรรมชาติไม่พึ่งสารเคมี และ ยา ในการรักษาสิวครับ


สำหรับ การใช้น้ำมันมะกอกของนุชา จะใช้ทานแบบเพรียว คือ จะทาน 2 ช้อนโต๊ะ ตอนเช้า หลังตื่นนอน และตามด้วยน้ำเปล่า 1 แก้ว มีผลการทดลองพบว่า

การรับประทานน้ำมันมะกอกบริสุทธิ์พิเศษ (Extra Virgin Olive Oil) โดยเชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำวันละ 25 เกรน (1 เกรน = 65 มิลลิกรัม) ให้วิตามินอีถึงร้อยละ 50 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวันในผู้ชาย และร้อยละ 62.5 ในผู้หญิง อีกทั้งยังอุดมด้วยวิตามินเอ ดี เอฟ และเค

ผลการทานนะครับ นุชาสังเกตุได้ว่าน้ำมันมะกอกมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ทำให้นุชาขับถ่ายได้ลื่น ง่าย โล่ง กว่าเดิม และรู้สึกได้ว่าร่างกายค่อนข้างจะสดชื่น อาจเพราะว่าน้ำมันมะกอกช่วยทำให้ระบบการไหลเวียนของเลือดทำงานได้ดีขึ้นจึงทำให้ผลออกมาเป็นแบบนั่นเอง และสิวยังไม่เกิดใหม่ด้วย อาจเพราะมีปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย เพราะนุชาดูแลสุขภาพจากการทานอาหารเป็นอย่างดี จึงทำให้ส่งเสริมประสิทธิภาพในการรับประทานน้ำมันมะกอกดีขึ้นยิ่งขึ้น ไปอีกครับ

** สำหรับการนำ น้ำมันมะกอกมาเป็น คลินซิ่งออย นุชาขอไม่แนะนำสำหรับคนเป็นสิวเด็ดขาดนะครับ เนื่องจากน้ำมันสามารถอุดตันรูขุมขนได้ ผู้ที่มีผิวมันหรือเป็นสิวอาจจะทำให้ผิวหนัง เกิดการระคายเคืองและการเการอักเสบได้ง่ายครับ

อ้อ เพิ่งอ่านบทความท่านผ่านมา พี่เบิร์ดธงไชย ได้ทานน้ำมันมะกอกมานานมากแล้วนะครับ และ ยังบอกอีกว่า น้ำมันมะกอกเป็นเคล็ดลับให้พี่เบิร์ดนั้นอ่อนเยาว์ตลอดกาลอีกด้วย

รู้อย่างนี้อย่าลืมทานน้ำมันมะกอกกันนะครับ  ไม่ชอบทานเพรียวก็ทาน แบบราดผัก แทนน้ำสลัด จิ้มขนมปัง หรืออะไรก็ตามแต่ที่ใช้ความร้อนน้อยๆ หรือไม่ใช้ความร้อนเลย เพื่อไม่ให้น้ำมันมะกอกเสียคุณค่าและกลายเป็นสารอนุมูลอิสระมาทำร้ายร่างกายแทนนะครับ

โอลีโอแคนธัล สามารถยับยั้งเอนไซม์ไซโคลออกซีจีเนส(COX) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้กรดไขมันอะแรกชิโดนิก(arachidonic acid, ARA)  เปลี่ยนเป็นพรอสตาแกลนดิน(prostaglandins, PG) และทรอมโบเซน(thromboxane) ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการอักเสบและก่อให้เกิดผลเสียต่อร่างกาย เอนไซม์ COX โดยเฉพาะอย่างยิ่ง COX2 เป็นเอนไซม์ที่มีส่วนร่วมกับการเกิดโรคต่างๆ เช่น โรคมะเร็งหลายๆชนิด, โรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว(atherosclerosis)

ด้วยเหตุนี้จึงเกิดความเชื่อที่อาจเป็นไปได้ว่าการได้รับสารโอลีโอแคนธัลในปริมาณต่ำๆ เป็นระยะเวลานานจากการรับประทานน้ำมันมะกอกเป็นประจำมีส่วนเกี่ยวข้องกับการลดอุบัติการณ์การเกิดโรคต่างๆของชาวเมดิเตอร์เรเนียน(1)

ถ้าเราทานน้ำมันมะกอกเอ็กซ์ตร้าเวอร์จิ้นวันละ 50 กรัม หรือ ประมาณ 4 ช้อนโต๊ะ เราจะได้รับสารโอลีโอแคนธัล 10 มก. ต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับ 10% ของปริมาณยาต้านอักเสบอย่างไอบูโพรเฟนที่ขนาดรับประทานสำหรับผู้ใหญ่ ทั้งนี้มีรายงานวิจัยแนะนำว่าการได้รับยาต้านอักเสบอย่างเช่นไอบูโพรเฟน และยาต้านเอนไซม์ COX อื่นๆในปริมาณต่ำๆเป็นเวลานานจะสามารถช่วยป้องกันการพัฒนาของโรคมะเร็ง(เช่นมะเร็งลำไส้ใหญ่ และมะเร็งเต้านม) และโรคหัวใจหลอดเลือด (CVD) ได้(1)

เพิ่มเติม : อ่านบทความเกี่ยวกับประโยชน์ของน้ำมันมะกอก ที่ช่วยต้านการอักเสบพร้อมผลวิจัยได้ที่น่ี่
http://help-to-health.blogspot.com/2013/11/blog-post.html




การนำน้ำมันมะกอกมาใช้

จะใช้น้ำมันมะกอกปรุงอาหารได้อย่างไร

1. นำมาใช้เป็นส่วนผสมในการทำน้ำสลัด หรือน้ำจิ้ม

2. นำมาใช้ในการผัด ชนิดที่ใช้น้ำมันน้อย เช่นผัดผักเร็ว ๆ ผัดกระเพรา มักกะโรนี สปาเก็ตตี หรือ พาสต้า

3. นำมาใช้ในการหมักเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ ก่อนที่จะนำไปอบจะทำให้เนื้อนุ่มขึ้น

4. ใช้เป็นน้ำมันสำหรับทอด จะช่วยให้อาหารไม่อมน้ำมันเนื่องจากน้ำมันมะกอกจะให้ความร้อนสูง ทำให้อาหารสุกทั่วถึงอย่างรวดเร็ว ไม่สูญเสียคุณค่าทางโภชนาการอีกด้วย


แหล่งอ้างอิงข้อมูล :

1. Cicerale, S., Lucas, L. J., & Keast, R. S. J. (2012). Oleocanthal: a naturally occurring anti-inflammatory agent in virgin olive oil. Olive Oil-Constituents, Quality, Health Properties and Bioconversions, 357-374

- http://prayod.com/%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%81-olive-oil/
- http://googigg.exteen.com/20080918/olive-oil-2
- http://www.lcc.ac.th/forum/board_posts.asp?FID=176
-http://naichef.50megs.com/olive.html
-http://www.pantip.com/cafe/food/topic/D6914864/D6914864.html
-http://www.ubmthai.com/leksoundsmf3/index.php?topic=139.msg1069
-http://www.pantown.com/board.php?id=10764&area=4&name=board11&topic=31&action=view


ติดตามพูดคุยในเพจของนุชาได้ที่นี่นะครับ
https://www.facebook.com/Diaryhome

หรือค้นหา : เรื่องสิว เรื่องบ้านๆ By Nucha



HAPPY NUCHA
XO,XO


น้ำมันมะกอกกับสิว, น้ำมันมะกอกรักษาสิว, น้ำมันมะกอก, สิว, รักษาสิวด้วยตนเอง, สิวน้ำมันมะกอก, น้ำมันสิว

Tuesday, May 27, 2014

Vitamin talk : ผิวขาวใส ลดฝ้าด้วย Grape seed (สารสกัดจากเมล็ดองุ่น)



วันนี้นุชาจะมาเล่าเกี่ยวกับ Grape seed สารสกัดจากเมล็ดองุ่น ที่มีคุณสมบัติ ที่ทำให้ผิวขาวใส ลดฝ้า พร้อมทั้งมีผลการวิจัยที่น่าเชื่อถือ และ การทานเพื่อต้านอนุมูลอิสระ และการบำรุงผิวพรรณได้เป็นอย่างดี


สารสำคัญที่มีอยู่ใน  Grape seed  ที่สำคัญก็คือ OPC


โอพีซี/สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

โอพีซีเป็นสารที่พบได้ในผักผลไม้เปลือกแข็ง เมล็ด, ดอกและเปลือก มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง ทั้งยังมีรายงานถึงฤทธิ์เป็นปฏิชีวนะ ต้านไวรัส ต้านมะเร็ง ต้านอักเสบ ต้านภูมิแพ้ ขยายหลอดเลือด รวมทั้ง ต้านไขมันหืน (inhibit lipid peroxidation) ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด ลดการซึมผ่านผนังหลอดเลือด และลดความเปราะบางของหลอดเลือด มีผลกับระบบน้ำย่อย

ทำให้ OPC มีประโยชน์หลากหลาย (Altern Med Rev = 2000)

ประวัติ ความเป็นมา ในปี คศ. 1534 นักสำรวจชาวฝรั่งเศส ล่องเรือในแม่น้ำเซนต์ ลอเลนซ์ ในสภาพที่เป็นน้ำแข็ง ทำให้ต้องดำรงชีพด้วยเกลือ เนื้อสัตว์ และขนมปัง มีอาการเลือดออกไรฟัน คล้าย scurvy (โรคลักปิดลักเปิด) แล้วได้รับคำแนะนำจากชาวพื้นเมือง ให้รอดชีวิตด้วยน้ำต้มจากเปลือกสน ซึ่งเข้าใจในเบื้องต้นว่าเป็นวิตามินซี (เนื่องจาก flavonoid 3 มีฤทธิ์คล้ายวิตามินซี) จึงเรียกสารนี้ว่า pycnogenols แต่ไม่เป็นที่นิยม คงตกค้างเป็นชื่อการค้าของ OPC ที่สกัดจากเปลือกสนฝรั่งเศส



ศจ. Masguelier เป็นผู้ค้นคว้า + ยืนยันถึงโครงสร้าง บทบาท และความปลอดภัย (Lack of  toxicity)

คศ. 1951 เริ่มมีการสกัด OPC จากเปลือกสน

คศ.1970 เริ่มมีการสกัด OPC จากเมล็ดองุ่น(grape seeds)

ปัจจุบันเรารู้จักกันในชื่อ Oligomeric Proanthocyanidin Complexes (OPC)หรือ Procyanidolic Oligomers (PCOs) โดย OPC  จากเมล็ดองุ่นได้รับความนิยมมากกว่า   OPC  สกัดจากเปลือกสนถึง 400  เท่า  ทั้งราคาก็ถูกกว่าอีกด้วย

ยังมีเรื่องราวของ Lounzo’s oil ที่นำมาสร้างเป็นบทภาพยนตร์ภายหลัง ปี 1996 เด็กผู้ชายคนหนึ่ง ชื่อ Lounzo ป่วยด้วยโรคทางสมอง ที่เรียก Leukoencepholopathy มีอาการแขนขาอ่อนแรง มือเท้าเย็นจากภาวะขาดการไหลเวียนเลือด ซึ่งแพทย์รับรองว่าไม่หาย…แต่คุณพ่อซึ่งเป็นแพทย์พยายามดิ้นรนขวนขวาย จนในที่สุด สิ่งที่ช่วยได้ คือ น้ำมันจากเมล็ดองุ่น

การค้นพบนี้เป็นอานิสงค์แก่ผู้ป่วยโรคเดียวกันซึ่งก็ได้ผลดี จนหยุดการใช้มอร์ฟินและลดยารักษาอาการเฉพาะได้

ล่าสุดไม่ถึง 10 ปีนี้เอง ที่นพ.เรย์ แสตรนด์ แพทย์แผนปัจจุบัน ประทับใจในอาหารเสริม ที่ช่วยรักษาภรรยาที่ป่วยด้วยโรคเนื้อเยื่อแข็ง หรือปวดกล้ามเนื้อและเส้นใยเรื้อรัง รักษามายืดเยื้อในแนวปัจจุบันได้เพียงประทังชีวิต โดยอาการเจ็บปวดและอ่อนเพลีย รุนแรงเพิ่มขึ้น บางครั้งมีภูมิแพ้ ไซนัสกำเริบ ตลอดจนติดเชื้อในปอด (Fibromyalgia)

โรคดังกล่าวเป็นโรคที่แพทย์สมัยใหม่เชื่อว่า เป็นเรื่องของจิต ความรู้สึกนึกคิดไปเอง หรือเกี่ยวกับซึมเศร้า

จนกระทั่งมีเพื่อนบ้าน แบ่งปันประสบการณ์อาหารเสริม ซึ่งเฟื่องฟูในอเมริกามากว่า 30 ปี นพ. แสตรนด์ จากที่เคยปฏิเสธหรือบอกกับคนไข้ที่เคยมาปรึกษาอยู่เสมอว่า ไม่มีประโยชน์ ก็ได้ทดลองใช้ด้วย

เหตุผลก็คือ ก็คงไม่มีอะไรจะเสียไปมากกว่านี้

แล้วปาฎิหารย์ต่อ นพ.แสตรนด์ก็เกิด เพียง 3 สัปดาห์ อาการป่วยของภรรยาดีขึ้นมาก จนหยุดยา สเตอรอยด์ที่ใช้กดอาการชั่วครู่ชั่วยามได้

หลังจากภรรยาหายด้วยกลุ่มอาหารธรรมชาติแล้ว นพ.แสตรนด์ได้ทุ่มเทชีวิตไปสนใจแนวการใช้สารอาการประกอบหรือเสริมวิชาแพทย์แผนปัจจุบัน จนเป็นที่รู้จักในวงกว้าง

นอกจากนี้ยังได้เขียนหนังสือออกมาอีกหลายเล่ม หนึ่งในนั้นที่แปลเป็นภาษาไทยมีเรื่องราววิธีใช้ OPC อย่างดี คือ เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริม…

สิ่งที่ยืนยันว่ามิใช่ฟลุ๊กหรือบังเอิญโชคช่วย…ก็คือ นพ.แสตรนด์ ใช้อาหารเสริมตำรับเดียวกันรักษาคนไข้โรคเดียวกันนี้ ซึ่งรวบรวมไว้เป็นชมรมหรือกลุ่มผู้เป็นโรคอาการเดียวกัน อีก 5 คนก็ได้ผล จนเกือบกลายเป็นหมอเทวดาไป

จึงเป็นที่มาของความสนใจใผ่ศึกษาลงรายละเอียดเกี่ยวกับอาหารเสริมและทฤษฎีอนุมูลอิสระ ไปถึงสารต้านพิษ Oxidative stress ทั้งหลาย

สารเสริมสุดยอดนิยม ที่นพ.แสตรนด์ ใช้เป็นมาตรฐาน ก็คือ สารสกัดจากเมล็ดองุ่น หรือ OPC นี่เอง

http://www.udel.edu/biology/Wags/histopage/colorpage/cin/cin.htm

          บทบาทของ OPC  บทบาทเดิม คือ เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เคลื่อนที่ได้คล่อง ล่องลอยไปได้ทั่วร่างกายในน้ำ มีอานุภาพให้ e ได้สูงกว่าวิตามินซี 20 เท่า และสูงกว่าวิตามินอีกว่า 50 เท่า

ที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากมีขนาดโมเลกุลไม่ใหญ่โตมาก คือ OPC นับเอาสารที่มีกลุ่ม proanthocyanidins เพียงแค่ Oligomeric คือ เป็นกลุ่มที่มีเพียง 2–3 กลุ่มโมเลกุล หรือไม่เกิน 7 โมเลกุล

ดังนั้นสรรพคุณของ OPC จึงขึ้นกับสารประกอบที่ใส่ลงไป ซึ่งหากเป็นการปลอมปนกลุ่ม Tannin โดยแอบอ้างว่าเป็น proanthocyanidins เหมือนกัน แต่กลุ่มโมเลกุลใหญ่กว่าจะเป็นโมเลกุลอุ้ยอ้าย เจาะผ่านเนื้อเยื่อได้ไม่ดี

แหล่งวัตถุดิบ OPC จึงมีความสำคัญด้วยประการฉะนี้

OPC ที่สกัดจากเมล็ดองุ่น ยังมี OPC เข้มข้นถึง 92% ในขณะที่สกัดจากเปลือกสนจะมี OPC เพียง 84%

อีกทั้ง OPC จากเมล็ดองุ่น ยังมี gallic esters of proanthocyanidins ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่เปลือกสนไม่มีสารนี้

แม้แต่ในหมู่องุ่นด้วยกัน ก็พบว่าเมล็ดองุ่นขาว มีOPCน้อยกว่าเมล็ดองุ่นแดง

ดังนั้นสรรพคุณล่ำลือเก่าแก่เกี่ยวกับฟลาโวนอยด์ หรือไบโอฟลาโวนอยด์ จึงถูกแทนที่ด้วย OPC หรือ OPC คือ สุดยอดฟลาโวนอยด์

จากคุณสมบัติที่เป็นกลุ่มโมเลกุลเล็ก ละลายน้ำ ทำให้เดินทางแทรกซึมไปได้ทั่วร่างกาย และยังผ่านเข้าสมอง (blood brain barrier) ได้


        โครงสร้างโมเลกุล นอกจากเปลือกสนฝรั่งเศสแล้ว ยังพบได้ในเหล้าองุ่น แครนเบอรี่ ใบบิลเบอรี่ เบิรช (birch) แปะก๊วย และ hawthorne ซึ่งรู้จักในชื่อ procyanidins…สารนี้เป็นตัวทำให้พืชมีสี น้ำเงิน ม่วง ถึงแดง

OPC เป็นสารหนึ่งใน polyphenolic complex flavonoids ซึ่งแบ่งออกได้หลายกลุ่ม โดย proanthocyanidins จัดอยู่ในกลุ่มที่มี แทนนินเข้มข้น (แทนนิน เป็น highly hydroxylated structure อันสามารถเกิดร่วมกับคาร์โบฮัยเดรท และโปรตีน)

วิธีวัดความฝาด (astringency) ขึ้นกับฤทธิ์ตกตะกอนในน้ำลาย

พวก polyphenolic รวมถึง proanthoyanidins เป็นตัวทำให้เกิดแทนนินที่พบในไวน์ โดยเฉพาะไวน์แดง

proanthocyanidins เป็นกลุ่ม polymers ที่มีน้ำหนักโมเลกุลสูง การเกิด oxidation มีขึ้นระหว่างคาร์บอนอะตอม C4 ของ heterocycle กับ C6 หรือ C8 ของวงแหวน A + B ที่เชื่อมต่อกัน (ดังรูป) โดย C4–C8 เป็นรูปแบบที่พบมากที่สุด


          จากงานสัมมนา “Free Radicals in Biotechnology and Medicine” ณ.กรุงลอนดอน ในปี ค.ศ. 1990 มีรายงานว่าการ esterification of (–) epicatechin และด้วย กรด gallic เพิ่มประสิทธิภาพการทำลายอนุมูลอิสระ โดยข้อมูลบ่งว่า dimeric proanthocyanidins ที่มี C4 – C8 linkage จะมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระได้มากกว่าC6 – C8 linkage procyanidin B2

C4 – C8 linkage เป็น gallic esters ที่พบในสารสกัดจากเมล็ดองุ่น

Oligo แปลว่า  1 ถึง 2 ไม่เกิน 3 dimers

Proanthocyanidins คือ กลุ่มโมเลกุลก่อนแตกตัวเป็นcyanidine ให้สารสีแดง กล่าวแล้วว่า Oligo หมายถึง เล็กๆ หรือ few คือ 2 หรือ 3

การที่ proanthocyanidins จับกันเป็นกลุ่มเล็กๆ จึงเรียก Oligomeric Proanthocyanidin เรียกย่อว่าOPC จากรูปแบบโมเลกุลที่มี 3 วงแหวนพร้อมแขนคู่ ซึ่งพร้อมให้ e ได้ดี บวกกับการที่มีกลุ่มขนาดเล็ดจึงกะทัดรัด ประกอบกับคุณสมบัติละลายน้ำ ทำให้เคลื่อนตัวได้เร็ว ความเล็กทำให้แทรกซึมได้ทุกแห่ง ถึงจุดเป้าหมายก่อนกลุ่มขนาดใหญ่

ถ้ามี tetramers หรือ มากกว่าจะเรียกเป็น polymeric proanthocyanidins โดยมีความฝาด (astringency) เพิ่มขึ้นตาม

ดังนั้น Oligomeric Proanthocyanidin จึงฝาดน้อยกว่า จับกับโปรตีนได้ดีกว่า และละลายน้ำล่องลอยในร่างกายได้ดีกว่า

ฟลาโวนอยด์ เป็นสารเคมีธรรมชาติที่มีอยู่ในพืช ผัก ผลไม้ ไม่ใช่กลุ่มวิตามิน แร่ธาตุ หรือใยอาหาร แต่สำคัญต่อการทำงานของร่างกาย โดยส่วนมากเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ละลายน้ำ

ชาและไวน์ (โดยเฉพาะไวน์แดง) จะมีฟลาโวนอยด์มากเป็นพิเศษ ฟลาโวนอยด์ที่ให้ e ดีที่สุดคือ รูป

แบบของ anthocyanidins

ปัจจุบันพบฟลาโวนอยด์แล้วกว่า 20000 ชนิด

ตัวอย่างสารฟลาโวนอยด์ที่สำคุญคือ เควอร์ซิติน

Flavonoid ที่ต้านอนุมูลอิสระได้ดีที่สุด คือ รูติน (rutin) และ hesperidin ซึ่งพบมากในเมล็ดข้าวบัดวีท และผลไม้ตระกูลส้ม

OPC พบมากในเมล็ดองุ่น

Isoflavone พบในถั่วเหลือง

Anthocyanoside สารสีแดงในไวน์แดง หรือแบล็กเบอรี่

(ส่วน carotenoid ทำให้ผักผลไม้มีสีแดง ส้ม และเหลือง ต่างกับ Flavonoid ตรงที่ละลายในน้ำมัน…สารสีเหลือของเนยก็มาจาก b-carotein ในหญ้าที่วัวกินเข้าไป)

บางครั้งก็เรียก Bioflavonoid


OPC จึงเป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากธรรมชาติมีประสิทธิภาพในการต้านอนุมูลอิสระเหนือกว่า antox อื่นๆ โดยมีประสิทธิภาพสูงกว่าวิตามิน C 20 เท่า และสูงกว่า วิตามิน E 50 เท่า จึงได้รับขนานนามว่า Superantioxidant

นอกจากนี้เมื่อทาน OPC ร่วมกับวิตามินซีจะช่วยเสริมฤทธิ์ให้วิตามินซี ช่วยบำบัดวิตามินซีที่ถูกใช้ให้คืนสภาพกลับมาใช้ใหม่ได้ บางคนจึงเรียก OPC ว่าเป็น Vitamin C cofactor

          คุณสมบัติทางชีวะ (Biological Properties) มีการศึกษา OPCถึงฤทธิ์ทำลายล้างอนุมูลอิสระ,ต้านแบคทีเรีย, ต้านไวรัส, ต้านมะเร็ง, ต้านอักเสบ (antiinflammatoy) ต้านภูมิแพ้ (anti-allergic) และฤทธิ์ขยายหลอดเลือด (vasodilatory action) รวมถึงฤทธิ์ยับยั้งกระบวนการเติมออกซิเจนต่อไขมัน (Lipid peroxidation) 

การจับตัวของเกล็ดเลือดการซึมผ่านเส้นเลือดฝอย ความแข็งแกร่ง และเกี่ยวข้องกับระบบน้ำย่อย (enzyme system) โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ OPC เป็นที่ประทับใจในหลายรายงานที่ทดลองในสัตว์ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Proanthocyanidin ที่สกัดจากเมล็ดองุ่นมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการทำลายเนื้อเยื่อจากกระบวนการoxidationได้ดีกว่าวิตามิน ซี อี และเบต้าแคโรทีน (platelet aggregation)

  ส่วนการทดลองในหลอดแก้ว บ่งว่ามีคุณสมบัติพิเศษในการต่อต้าน hydroxyl radical (OH–) ทั้งยังมีฤทธิ์ยับยั้งบทบาทของ xanthine oxidase ซึ่งเป็นตัวปลดปล่อยอนุมูลอิสระ, elastase, callagenase, hyaluronidase และ b-glucuronidase

OPC  ยังชอบจับกับสารที่มี  glycosaminoglycans (epidermis ของผิว, ผนังหลอดเลือด, ผนังลำไส้ ฯลฯ)

ซึ่งคุณสมบัตินี้ทำให้ OPC มีประโยชน์ในการช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแกร่ง การไหลเวียนโลหิตดีขึ้น

จากคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระจึงมีการนำไปทดสอบประสิทธิภาพในสัตว์ทดลอง (in vitro) หรือเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติ ผลที่ได้ล้วนเป็นที่น่าพอใจ สามารถนำมาอธิบายกับคน (in vivo) ได้ ตั้งแต่เรื่องช่วยต้านมะเร็ง ป้องกันโรคหัวใจหลอดเลือด หยุดการย่อยสลายคอลลาเจน ช่วยเสริมเสร้างคอลลาเจนร่วมกับวิตามินซี ทำให้ผนังหลอดเลือดและผิวหนังแข็งแรง เต่งตึง

ผลที่น่าพอใจมาก คือ กรณีเส้นเลือดขอด (varicose vein) ริดสีดวงทวาร โดยเฉพาะอวัยวะที่มีเส้นเลือดฝอยละเอียดอ่อนมากที่สุด คือ ลูกตา ซึ่ง Retina ใช้เลือดหล่อเลี้ยงมาก จึงใช้ในการป้องกันจอประสาทตาเสื่อม โรคเบาหวานก็เป็นโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือดฝอยเสื่อมสภาพจากน้ำตาลล้นเกิน อาการชาที่ขาเพราะประสาทอักเสบก็ทุเลาได้

หลอดเลือดสมองที่แข็งแรงขึ้น ทำให้เลือดไปสู่สมองดีขึ้น จึงทั้งเพิ่มอาหารและต้านอนุมูลอิสระแก่สมอง ช่วยต้านสมองเสื่อม หลอดเลือดที่แข็งแรง แตกเปราะยากขึ้น จึงป้องกันโรคลมปัจจุบัน (stroke)



สรุปคุณสมบัติของ OPC

            1. เป็น Superantioxidant สามารถจับกับอนุมูลอิสระได้ดี ต้านอนุมูลอิสระได้ทุกรูปแบบและจำนวนมาก

            2. ถูกดูดซึมจากกระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว ภายใน 20 – 30 นาที จากนั้นจึงกระจายไปสู่อวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ และยังคงอยู่ภายในร่างกายได้นาน (half life 7 ชม.)

            3. สามารถรวมตัวได้ดีกับคอลลาเจนซึ่งเป็นโปรตีนที่เป็นส่วนประกอบของผิวหนัง หลอดเลือดและอวัยวะต่างๆ จึงทำให้เซลล์ผิวหนังแข็งแรงไม่เหี่ยวย่น หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นดี ไม่เปราะหรือแตกง่าย

           4. สามารถผ่านแนวกั้นสมอง (blood brain barrier) ได้ จึงป้องกันสมองมิให้เสียหายจากอนุมูลอิสระ คุณสมบัติเด่นนี้ทำให้ OPC เป็น antioxidant ที่ต่างจากชนิดอื่นๆ

           5. ทำงานร่วมกับวิตามินซีในการทำให้คอลลาเจนทั่วร่างกายแข็งแรงขึ้น และยังช่วยป้องกันการสูญเสียวิตามินซีและอี

           6. ปลอดภัยต่อร่างกาย




ผลการทดลองต่างๆ

v ในยุโรปใช้ OPC รักษาอาการผิดปกติของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดขอด (Venous insufficiency) และปัญหาของหลอดเลือดฝอย (microvascular problem) เช่นหลอดเลือดฝอยเปราะบาง และปัญหาทางตา

v ในฝรั่งเศส OPC เป็นสารสำคัญที่ใช้เกี่ยวกับความผิดปกติของหลอดเลือดฝอย (microcirculatory disorders) และยังมีการทดลองต่างๆ ยืนยันถึง :-

         – ฤทธิ์ต้านเฉพาะกับ OH free radical

         – ชะลอการเกิด Lipid peroxidation อย่างมีนัยยะสำคัญ

         – จับ Lipid peroxidase และ free radicals

         – แย่งกับโมเลกุลของธาตุเหล็ก ช่วยยับยั้งการเกิด  iron-induced lipid peroxidation

         – ยับยั้ง xanthine oxidase ซึ่งเป็นแหล่งปลดปล่อยอนุมูลอิสระแหล่งใหญ่

         – ยับยั้ง hyaluronidase, elastase + collagenase ซึ่งไปทำลายเนื้อเยื่อโครงสร้างเกี่ยวพัน (connective tissve)


ข้อมูลของ Proanthocyanidin นำมาอธิบายว่าทำไมชาวฝรั่งเศส ซึ่งบริโภคไขมันสูงเช่นเดียวกับคนอเมริกัน แต่เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด (แข็งตีบตัน) น้อยกว่า…ก็เนื่องจากชาวฝรั่งเศสได้ OPC เป็นสารต้านอนุมูลอิสระจากการดื่มไวน์แดง ประจำวันนั่นเอง

1998 Tufts University “Dietary Antioxidant and Human Health Conference” รายงานผลการค้นพบว่า Proanthocyanidin ให้ผลเช่นเดียวกันในอเมริกา

ปัจจุบันมีการยืนยันว่า สาร polyphenols ในไวน์แดงจากองุ่นแหล่งอื่นก็ช่วยป้องกันการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดเรื้อรัง เช่น atherosclerosis ได้

Dr. Kendal เป็นอีกผู้หนึ่งที่รายงานว่า OPC มีบทบาทป้องกันหัวใจวาย ในผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ

(coronary artery patient)


ยังมีงานวิจัยอื่นๆ  เช่น

           1. กิน  OPC  ลดโคเลสเตอรอลในสัตว์ทดลอง โดย เฉพาะการป้องกันมิให้โคเลสเตอรอลรวม และ LDL สูงขึ้น และเพิ่ม HDL ในเลือด

          2. OPC ลดปริมาณโคเลสเตอรอลที่เกาะผนังหลอดเลือดใหญ่ (aorta)

          3. OPC ช่วยต้านสารที่เป็นพิษต่อเซลล์ เพิ่มระดับ interleukin-1, interleukin-6 และ interleukin-10 ในสัตว์ทดลอง

          4. OPC ในหลอดทดลอง แสดงถึง บทบาทต้านการผ่าเหล่าของเซลล์สู่มะเร็ง (antimutagenic activity)

          5. มี double blind study พบว่าการให้ 300 mg.  OPC/วัน ในผู้ป่วยสามารถปกป้องเส้นเลือดดำฝอยขาดเลือด (peripheral venous insufficiency)ได้ผล 75% เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มยาหลอกซึ่งได้ผลเพียง 41%

         6. OPC ขนาด 150 mg./วัน เพิ่ม venous tone (แข็งแกร่ง) ในผู้ป่วยเส้นเลือดขอด

         7. OPC ขนาด 100–150 mg./วัน เทียบกับยาหลอกพบว่า 53% มี capillary resistance (ความต้านทานของเส้นเลือดแดงฝอย) ดีขึ้นใน 2 – 3 สัปดาห์

         8. ให้ OPC ขนาด 100 mg./ วัน แก่ผู้ป่วยโรคจอตาเสื่อม(retinopathy) สามารถรักษา exudate ซึ่งเป็นผลจาก hypoxia (อาการขาดออกซิเจน) ในผู้ป่วยเบาหวาน ลดการอักเสบ และหลอดเลือดตีบแข็ง

         9. มีการทดลองให้ OPC ขนาด 300 mg./วัน แก่     ผู้ป่วยมะเร็งเต้านม สามารถลดความเจ็บปวดได้ 59% เทียบกับยาหลอก ซึ่งได้ผลเพียง 13%


สรุปฤทธิ์ OPC

            - Antibacterial - ต้านแบคทีเรีย

            - Antiviral - ต้านไวรัส

            - Anticarcinogenic - ต้านมะเร็ง

            - Anti-Inflammatory - ต้านอักเสบ

            - Antiallergic  ต้านภูมิแพ้

            - Vasodilatory action - ช่วยการขยายตัวของหลอดเลือด

            - ยับยั้ง Lipid peroxidation -หยุดการหืนของไขมัน

            - ลดการจับตัวของเกล็ดเลือด (plalet aggrgation)

            - ลดการซึมผ่านหลอดเลือดฝอย

            - ลดความเปราะบางของหลอดเลือดฝอย

            - ระบบน้ำย่อย phospholipase A2

            - Cyclo-oxygenase

            - Lipoxygenase




ประโยชน์ของ OPC

          1. ป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจ ในสัตว์ทดลอง ป้องกันโรคหลอดเลือดอักเสบอุดตันได้ (atherosclerosis) จากการไปต้าน Oxidative stress ต่อ LDL OPC ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่มากระทำต่อ LDL เป็นการช่วยจะยับยั้งการเกาะตัวของโคเลสเตอรอลที่ผนังหลอดเลือด เป็นการป้องกันหลอดเลือดอุดตัน ช่วยให้โลหิตไหลเวียนได้ดี ลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและสมอง

         2. ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ไม่เปราะหรือแตกหักง่าย เนื่องจาก OPCสามารถรวมตัวกับคอลลาเจนของผนังหลอดเลือดได้ดี จึงป้องกันอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายเซลล์ผนังหลอดเลือด ช่วยบรรเทาอาการเส้นเลือดขอดหรือโป่งพองได้ ทั้งที่หัวใจและสมอง

ต้านเส้นเลือดเปราะ เลือดออกง่าย เส้นเลือดขอด ไม่ว่าที่น่อง เส้นเลือดขอดที่ขา ริดสีดวงทวาร

พบว่า OPC มีประสิทธิภาพสูงกว่าฟลาโวนอยด์ที่จดทะเบียนเป็นยา และดีต่อโรคหลอดเลือดดำอักเสบ เหนือกว่าสมุนไพรที่ชื่อ Norse chesnat

ลดเลือดจับตัวเป็นก้อน (venous thombosis) จากการนั่งอยู่กับที่นานๆ พบว่า OPC  ขนาด 100 มก.มีคุณสมบัติทำให้เลือดบางลง หรือลดการจับตัวของเกล็ดเลือด เทียบเท่า Aspirin 500มก.

\จึงไม่ควรรับ OPC ร่วมกับยาลดการเกาะตัวของ

เกล็ดเลือดอื่นๆ เช่น วาฟาร์ลิน เฮฟฟาริน แอสไพริน

OPC เหนือกว่า Aspirin ตรงที่ไม่กัดกระเพาะ จึงกินขณะท้องว่างได้

1. ลดอักเสบ (Anti-Inflammation) OPC ไปยับยั้งการทำงานของ enz.กลุ่มที่ย่อยโปรตีน (Protease) ย่อย collagen (collagenase) ทำให้ PGE2 ไม่ถูกสังเคราะห์ขึ้นคือ สารก่ออักเสบที่ n6 สร้างขึ้น) เมื่อไม่เกิด PGE2  จึงทุเลาอาการปวดอักเสบต่างๆ เช่น ปวดกล้ามเนื้อและเส้นใย (fibromyalgia) ปวดข้อ (arthritis) และโรคผิวหนังพุพอง (eczema) เป็นต้น ต้านการอักเสบ OPC จะยับยั้งการสังเคราะห์ และการปล่อยสารที่จะทำให้เกิดการอักเสบ ทำให้เนื้อเยื่อเกี่ยวพันของข้อต่างๆ ทำงานได้ดี ลดอาการข้อกระดูกอักเสบ โรคเนื้อเยื่อแข็ง (PGE2

อาการแทรกซ้อนจากเบาหวาน เช่น ปลายประสาทอักเสบ ขาชา ตาเสื่อม ตาบอด ต้อกระจก

             4. ลดอาการภูมิแพ้ OPC มีคุณสมบัติในการต้านสารฮีสตามีน จึงช่วยลดอาการภูมิแพ้ หอบหืด

เส้นเลือดฝอยแข็งแรง ไม่แตกเปราะ เนื้อเยื่อแข็งแรง ปกป้อง mast cell มิให้ถูกโจมตี เมื่อไม่ถูกรบกวนก็

ไม่หลั่ง histamine มาก ไม่เกิดอาการภูมิแพ้

OPC ดีกว่ากินยาแก้แพ้ (Antihistamine) เพราะไม่ง่วง ไม่เกิดซึมเศร้า หรือนมโตในผู้ชาย อันเป็นผลข้างเคียงของ Antihistamine

             5. ป้องกันสมองเสื่อม OPC สามารถผ่านแนวกั้นสมองได้ จึงป้องกันสมองจากการทำลายของอนุมูลอิสระ

            6. ป้องกันการเสื่อมของดวงตา ต้อกระจก ตาเสื่อมจากเบาหวานช่วยให้สายตาปรับการมองเห็นในที่มืดได้ดี  ปกป้องอาการตาเสื่อมจากเบาหวาน

            7. ป้องกันมะเร็ง OPC ป้องกันมิให้อนุมูลอิสระไปทำความเสียหายต่อ DNA ของเซลล์ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นเซลล์มะเร็ง

OPC กีดขวางการเกิดมะเร็ง จากฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ และสนับสนุนการทำงานของวิตามิน C และ E

หากใช้ร่วมกับน้ำมันปลา n3 สารพฤษเคมีอื่นๆ ร่วมกัน น่าจะเกิดผลดียิ่งขึ้นได้

แต่ก็ยังไม่มีรายงานในคนแบบวิชาการ จึงเป็นเพียงความคาดหวังทางทฤษฎีเท่านั้น

           8. ป้องกันผิวหนังเหี่ยวแก่ และช่วยให้เส้นผมแข็งแรงจากต้านอนุมูลอิสระของ OPC

มีนักวิจัยชื่อ Takahashi พบว่า OPC กระต้นเส้นผมในหนูทดลองให้งอก จากคุณสมบัติ ช่วยหยุดการทำงานของฮอร์โมนลักษณะเพศชาย (Dihy drotestosterone – DHT) ซึ่งถ้า DHT มากไปจะไปยับยั้งการเกิดตุ่มเส้นผม จึงทำให้ขนหรือผมร่วง ในด้านการป้องกันริ้วรอย ฝ้า กระ OPC ช่วยต้านอนุมูลอิสระที่จะมาทำลายคอลลาเจน และอิลาสตินในผิวหนัง อันเป็นสาเหตุทำให้ผิวเสื่อมสภาพ เกิดริ้วรอยก่อนวัย คงสภาพของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue)

ผู้เขียนหนังสือแนะนำให้ใช้ร่วมกับสาร MSM (Methyl Sulphur Methane) ในการบำรุงรากผม ช่วยให้ผมงอกงามดีขึ้น MSM เป็น (Organic sulphur) กำมะถันอินทรีย์ซึ่งไม่มีกลิ่นเหม็นเหมือนกำมะถันทั่วไป และไม่เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น ผิวแห้งเป็นขุย

กำมะถันยังพบมากในทุเรียน กลิ่นทุเรียนก็โยงใยกับกลิ่นกำมะถันได้

          9. ลดบวม (edema) อาการบวมหลังผ่าตัด เนื่องจาก protein collagen elastin เสื่อมสภาพ ทำให้น้ำเหลืองไหลซึมออกมาได้ง่าย OPC ไปช่วยให้ collagen elastin เหนียวแข็งแรง ก็จึงลดอาการบวมได้โดยเร็ว

รวมไปถึงอาการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา ฟกช้ำดำเขียว

         10. ลดโคเลสเตอรอล

         11. เพิ่มภูมิคุ้มกัน

         12.ช่วยการหายของบาดแผล จากผลการเพิ่มภูมิคุ้มกัน

         13. ลดเลือดออกไรฟัน

         14. ลดแผลในปาก

         15. ลดอาการเริมที่ปาก

         16. ลดไซนัสอักเสบ…(โดยมักใช้ร่วมหรือเสริมฤทธิ์ยาอื่น)

         17.การแข็งตัวของอวัยวะเพศชาย E.D = Erectile Dysfunction) อาการหย่อนสมรรถภาพ ซึ่งมักพบในชายอายุเกิน 45 ถึง 40% พบว่าOPC ช่วยได้ แต่ต้องร่วมกับการออกกำลังกาย และภาวะจิตใจด้วย แต่ผลการศึกษาใช้กลุ่มตัวอย่างมีไม่มากพอ

 ขนาดรับประทาน

           ก. เพื่อต้านอนุมูลอิสระในชีวิตประจำวัน ใช้ขนาด 50 – 100 มก./ วัน

           ข. เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะโรค ขนาด 100–400 มก./วัน เช่น



ปัญหา


โรคหัวใจ   100 OPC (mg.)   100 CoQ10 (mg.)

มะเร็ง ระยะแรก   200 OPC (mg.)   200 CoQ10 (mg.)

มะเร็ง ระยะแพร่กระจาย   300 OPC (mg.)   500 CoQ10 (mg.)

ตาเสื่อม   300 OPC (mg.)   100 CoQ10

หืด   200 OPC (mg.)   - CoQ10

ถุงลมปอด   200 OPC (mg.)   - CoQ10

สมองเสื่อม   400 OPC (mg.)   - CoQ10

เบาหวาน   100 OPC (mg.)   - CoQ10

ปวดกล้ามเนื้อ   200 OPC (mg.)   200 CoQ10

ข้ออักเสบ   100 OPC (mg.)   - CoQ10

รูมาตอยด์   400 OPC (mg.)   300 CoQ10

สวยงาม, ชลอชรา   100 OPC (mg.)   100 CoQ10


ความปลอดภัย   ยังไม่พบรายงานผลข้างเคียงหรือพิษภัย บางคนอาจพบอุจจาระเหลวเป็นบางครั้ง

ข้อควรระวัง

         1.    งดใช้ร่วมกับยาที่ทำให้เลือดบาง เกล็ดเลือดจับตัวช้า เช่น Warfarin, Heparin,Aspirin

         2.    อาจทำให้ยาปฏิชีวนะ tetracyclin ใช้ไม่ได้ผล

         3.    งดบริโภคก่อนผ่าตัดและหลังผ่าตัด เพราะเลือดอาจออกง่าย




มาถึงตรงนี้คงกระจ่างแล้วใช่ไหมครับ ว่าสารกัดจากเม็ดองุ่นนั้นดีจริงๆ ผลข้างเคียงน้อยมาก และแทบจะไม่มีอันตรายเลย แต่ทว่า หลายคนยังสงสัยว่า ควรเลือกทานยี่ห้อไหนดี สำหรับนุชาแล้ว เมื่อค้นหาข้อมูลดู และพิจาณาตามปริมาณ และ ราคา ในท้องตลาดจะมียี่ห้อที่น่าสนใจและหาซื้อง่ายในเมืองไทย

มียี่ห้อที่น่าสนใจดังนี้



Vistra Grape Seed Extract 60 mg 30 Cap 220.00 บาท


Blackmores Vitamins Grape Seed Forte 12000 30 Tab




Mega We Care Grape Seed 20mg 60 Cap 
มี Grape Seed Extract Providing Proanthocyanidins (95%) 19mg 320.00 บาท



เอกสารอ้างอิง :-

1. จากหนังสือ ความตาย..เมื่อคุณหมอไม่รู้จักอาหารเสริม โดย นพ.เรย์ ดี สแตรนด์ ISBN 974-94582-06)

2. King of Herbs : ศ.ดร.นพ.สมศักดิ์ วรคามิน ISBN 978-974-06-7570-9    

3. รู้สู้โรค : ศ.นพ.เฉลียว ปิยะชน ISBN 974-409-833-3




ติดตามพูดคุยในเพจของนุชาได้ที่นี่นะครับ
https://www.facebook.com/Diaryhome

หรือค้นหา : เรื่องสิว เรื่องบ้านๆ By Nucha


HAPPY NUCHA 











ผิวขาว, ลดรอยสิว, Grape seed,สารสกัดจากเมล็ดองุ่น,ผิวขาว, ลดรอยสิว, Grape seed,สารสกัดจากเมล็ดองุ่น
ผิวขาว, ลดรอยสิว, Grape seed,สารสกัดจากเมล็ดองุ่น,ผิวขาว, ลดรอยสิว, Grape seed,สารสกัดจากเมล็ดองุ่น

Saturday, May 24, 2014

4 Things สิ่งที่ใช้รักษาสิวแล้วหน้าแหก ไม่คิดจะใช้อีกในชีวิต

สวัสดีครับ วันนี้นุชานั่งอ่านหนังสืออยู่ แล้วนึกออกว่า จะเอาประสบการณ์ที่นุชาลองผิดลองถูกมา ว่ามีสิ่งไหน ที่ใช้แล้ว " หน้า....แหก" บ้าง ตอนนี้พอมานึกดูแล้วขำมาก แต่ว่าช่วงที่หน้าแหกไม่ขำนะครับ




มาดูกันว่า มีอะไรบ้างครับ






1. การใช้ยาแอสไพรินรักษาสิว (Aspirin) พอกหน้า


ช่วงปี 2010 นั้นนุชาสนใจการรักษาสิวอย่างมาก ด้วยที่เป็นช่วงที่ย่างก้าวเข้าสู่ "วัยรุ่น" 
ซึ่งจะเริ่มรู้จักคำว่า สวย หล่อ ผิวดี แล้ว จึงทำให้ไปอ่าน Blog เกี่ยวกับสิวที่หนึ่งมาว่าการใช้
ยาแอสไพริน (Aspirin) มาพอกหน้าจะช่วยทำให้ลดอาการหน้ามัน เพราะนุชาเริ่มเข้าใจแล้ว่า
อาหารหน้ามัน อาจเป็นสาเหตุของการเกิดสิว พอหน้าเราหายมัน สิวคงไม่ขึ้นมาอีก


ไม่พลาดแน่นอน นุชา ซื้อยาแอสไพรินได้ที่ร้านยา ในตัวอำเภทที่บ้าน และเภสัชก็ขายให้ด้วยนะ
ตอนนั้นจำได้ว่า แผงละ 14 บาท ถ้าจำไม่ผิดนะ ยาก็เหมือนรูปที่โชว์เลย ซื้อ 1 แผง ก่อน 
ก็ได้ใช้เลย เอาผสมน้ำบนฝ่ามือให้ละลาย แล้วพอกหน้าทิ้งไว้ จนแห้งแล้วไปล้างด้วยน้ำเปล่า 
ทำวันเว้นวัน ตอนนั้นแอบชิม มีรสชาตเปรี้ยว เพราะว่ายามีสภาพเป็นกรดนะครับ (acetylsalicylic acid)


ผลการใช้
1 แผงแรกใบหน้าไม่มีอะไรเกิดขึ้น สิวไม่ได้ลดลง ความมันก็ไม่ได้ลดลงเช่นกัน จึงจัดแผงที่ 2 ต่อ 
ปรากฏว่า.. หน้าไหม้ครับ หน้าดำเมี้ยมเลย ตรงที่ไหนพอกก็ไหม้ตรงนั้น 
เน้นๆ บริเวณแก้ม หน้าแผกจะเห็นได้ชัดเจนมาก
ใช้เวลารักษาจนกว่าหน้าจะเป็นสภาพเดิม 1-2 เดือนเลยครับ คำเดียวว่า     เ   ข็    ด   ...........







2. ใช้มะนาวทาหน้ารักษาสิว

ในเรื่อความสวยความงามไม่ต้องพูดถึง หนุ่ม สาว บ้านนอกอย่างนุชา ลุง ป้า น้า อา ต่างก็แนะนำมะนาว
นี่ๆ หนู ลองเอามะนาวมาทาหน้าดูสิ ตอนวัยรุ่นสมัยโน้ววว ป้าใช้แล้วสิวหายนะ (หืมมมม จริงอะป้า)

รีบคว้าน มะนาวจากบ้านป้ามา 4 5 ลูก เอามาฝ่าซีก แล้วบีบน้ำละเลงทาหน้าด้วยพลัน ผ่านไป 10 นาที

อีแม๊........... อีป๊อ ........... ฮัลโหลลลลล........  


ผลการใช้

นุชาแสบหน้ามากอะ หน้าแดงด้วย รีบไปล้างออกโดยเร็ว

ตื่นเช้ามาสิวอักเสบขึ้นกระจาย ออกแดดผิวแดงก่ำ และส่วนหนึ่งมีอาการระคายเคืองจนตกสะเก็ด

และแล้วนุชาก็รู้ว่า มะนาว ไม่ใช่สิ่งวิเศษที่จะเอามาทำหน้าเพื่อการรักษาสิวอีกต่อไป  





3. BB ครีมกลบสิว

ยอมรับนะครับว่าคลั่งที่อยากมีหน้าใส อยากสิวหายไวๆ ด้วยความที่ว่า มีผลิตภัณฑ์ BB ออกใหม่พอดี
ไปอ่านเจอว่าสามารถช่วยกลบ และ ลบรอยสิวได้ภายใน 10 วินาที 

เราก็ไม่รู้เนาะ ด้วยความวัยรุ่นแรกแย้ม อยากใสมั่งไรมั่งอะ ก็สอยมาใช้เลยสิ

5 วันเท่านั้นแหละเธอ สิวอุดตัน แห่  ตามกันมาเป็นขบวน จนเพื่อน และ คุณครูทักว่า นุชา ไปทำอะไรมา จากนั้นมา ไม่เคยใช้ BB ทาหน้าช่วงที่เป็นสิวอีกเลย และจนถึงวันนี้ครับ รู้สึกปลง





4. ใช้กรด AHA พอกหน้ารักษาสิว

แหมมมม... ก็ช่วงนั้นร้านเครื่องสำอางเปิดใหม่ที่ตัวอำเภอนี่นา
ด้วยความชอบที่จะใช้ SkinCare บ้าบอคอแตก คลั่งมากที่สุด ทั้งที่หนังหน้าก็ไม่ค่อยจะเอื้ออำนวย

ก็ได้สอย AHA 15% ที่คำแคลมจากผลิตภัณฑ์กล่าวว่า ช่วยรักษารอยสิว รอยดำ และฝ้า กระ ได้ดีเยี่ยม

กิเลสเกิดทันที ละเลงพอกหน้าก่อนนอนทิ้งไว้  15 นาที
คือมันต่างกันกับอะไรใช้มะนาวทาหน้าครับ พูด... สรุปหน้าแหก สิวขึ้น แดงคัน งด งด งด งดถาวร



เดี๋ยวคิดออกจะมาต่อนนะครับ
HAPPY NUCHA


ใช้แล้วหน้าพัง, ใช้แล้วหน้าแหก, สิวขึ้น, สิวแพ้, หน้าแพ้, หน้าไหม้
ใช้แล้วหน้าพัง, ใช้แล้วหน้าแหก, สิวขึ้น, สิวแพ้, หน้าแพ้, หน้าไหม้
ใช้แล้วหน้าพัง, ใช้แล้วหน้าแหก, สิวขึ้น, สิวแพ้, หน้าแพ้, หน้าไหม้

Friday, May 23, 2014

อุทาหรณ์สอนใจ กินดีท็อกล้างพิษทำลำไส้ป่วย ระบบร่างกายแย่จนเข้าโรงพยาบาล

สวัสดีครับ บทความนี้นุชาคงไม่ได้มารีวิว ผลิตภัณฑ์อะไรนะครับ แต่มาบอกเล่ากรณีของพี่แนน
ที่ได้ไปกินสมุนไพรดีท็อกยี่ห้อนึง ที่เครมว่า... สามารถล้างพิษได้ ไม่ทำให้ลำไส้ติดขัด และปลอดภัย
แต่กลับกลายเป็นว่าทำให้ร่างกายแย่ลงๆ นุชาขอไม่เอ่ยยี่ห้อนะครับ 

ซึ่งก่อนหน้านี่พี่แนน ได้เคยปรึกษาการรักษาสิวกับนุชามาก่อน จำไม่ได้แล้วว่านานเท่าไหร่ ถ้าจำไม่ผิด น่าจะปีกว่า ได้ เร็วเหมือนกันครับ คือเวลามีอะไร นุชากับพี่แนนก็จะมักแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอยู่เสมอ 



บังเอิญวันนี้ นุชาได้โพสรายละเอียดสมุนไพรดีท็อกที่นุชาทานอยู่ประจำ ซึ่งชอบมากที่สุดจากบรรดาญี่ห้อต่างๆ ด้วยเหตุผลว่าสะอาดปลอดภัย เคยไปเห็นขั้นตอนการผลิตของเขา และผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมจากสมุนไพรจากในประเทศไทย ทำให้นุชาทราบคุณสมบัติแต่ละตัวเป็นอย่างดี 




หลังจากที่นุชาได้คุยกันทาง Inbox กับพี่แนนได้ความว่า 

พี่แนนได้กินดีท็อกชนิดไปประมาณ 2-3 เดือน ตอนแรกก็ได้ผลดีมาก ช่วงเรื่องระบบขับถ่าย ถ่ายดีถ่ายคล่อง แต่พอหลังจากนั้นอยู่ๆ มาวันนึงเกิดอาหารตกขาวผิดปกติ และเกิดบ่อยครั้งมาก และสังเกตุได้ว่า ช่วงที่ทานสมุนไพรฉี่ของตัวเองจะเหลืองมาก..... เมื่อดื่มน้ำเยอะๆ คาดว่าฉี่จะเป็นสีขาว แต่กลับออกมาเหลืองมาก 



ถึงขั้นเข้า รพ. เพราะ ตกขาวผิดปกติ และเกิดอาการติดเชื้อทางเดินปัสสวะ และมีอาการเป็นเชื้อราในช่องคลอด.....

จนทำให้ตอนนี้ต้องเลิกกินเด็ดขาด และกลับมาฟื้นฟูลำไส้ และสุขภาพของตนเองด้วยการทานโยเกิร์ต ผักผลไม้แทนครับ


บทสนทนาที่นุชาคุยกับพี่แนนมีดังนี้นะครับ 






นุชามาวิเคราะห์ดูครับ ว่าทำไมพี่แนนถึงเกิดอาการดังกล่าว นุชาเคยติดตามสมุนไพรยี่ห้อนี้อยู่ว่า มีส่วนผสมอะไรบ้าง ส่วนผสมส่วนใหญ่ไม่คุ้นหู และส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกปลูกและผลิตในประเทศไทย นุชาไม่ทราบว่าเขาเขามีคุณสมบัติอะไรที่ดีหรือไม่ดี เพราะพ่อแม่ พี่น้อง ที่บ้านไม่เคยกิน เราก็ไม่อาจทราบว่าเมื่อทานไปนานๆ จะเป็นอะไรหรือไม่

ประเด็นที่สอง เกิดการมาตรฐานการผลิต การคัดแยกสมุนไพร และการบรรจุไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและเชื้อรา ทำให้เกิดผลเสีนต่อร่างกายแทน

นุชาไปเจอบทความนึงน่าสนใจเลยเอาข้อมูลมาให้ทราบกันนะครับว่าสมุนไพรที่มีเชื้อราปนเปื้อนอันตรายแค่ไหน



สารแอฟลาทอกซินในสมุนไพรตากแห้ง


               สารพิษแอฟลาทอกซิน (aflatoxin) เป็นสารพวก toxic secondary metabolite ผลิตโดยเชื้อราในกลุ่มราในโรงเก็บ (storage fungi) เชื้อราตัวสำคัญที่สร้างสารพิษนี้ได้ ได้แก่ Aspergillus flavus, A. parasiticus, Penicillium citrinum เป็นต้น ได้มีการศึกษาการสร้างแอฟลาทอกซินของ A. flavus ในห้องปฏิบัติการพบว่า A. flavus บางสายพันธุ์สร้างแอฟลาทอกซินในปริมาณสูงมาก บางตัวก็ไม่สร้าง ดังนั้นการที่พบเชื้อราเหล่านี้บนผลิตผลเกษตรจึงไม่สามารถสรุปว่าผลิตผลนั้นมีสารพิษ ในทำนองเดียวกันก็อาจมีการปนเปื้อนของแอฟลาทอกซินในผลิตผล โดยที่เราไม่เห็นเชื้อราเนื่องจากเชื้อราอาจถูกกำจัดออกไป โดยผู้ผลิตคิดว่าเมื่อไม่มีเชื้อราปรากฏให้เห็น ผลิตผลนั้นก็สะอาดปลอดภัย บริโภคได้ แต่ไม่ทราบว่าเชื้อราได้สร้างสารพิษและยังตกค้างอยู่ในผลิตผลนั้น ๆ การกำจัดแอฟลาทอกซินทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสารพิษทนความร้อนได้ถึง 250 องศาเซลเซียส เป็นสารพิษที่ก่อมะเร็งที่ตับ และตับอักเสบทั้งในมนุษย์และสัตว์ที่บริโภคอาหารที่มีสารพิษนี้เข้าได้จึงเห็นได้ว่าเป็นสารพิษที่อันตรายมาก ๆ      



สมุนไพรและผลิตผลเกษตรอื่น ๆ ที่พบแอฟลาทอกซิน

                เชื้อราสร้างสารพิษแอฟลาทอกซินได้ในสมุนไพรเกือบทุกชนิด ตัวอย่างสมุนไพรที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างแพร่หลายที่ตรวจพบแอฟลาทอกซินได้แก่ ข้าวเย็นเหนือ อบเชยเทศ โป๊ยกั๊ก ฟ้าทะลายโจร ขิง มะขามแขก บอระเพ็ด กานพลู ขมิ้นชัน มะตูม ขี้เหล็ก แสมสาร แห้วหมู พิกุล สารภี ระย่อม อบเชยญวน เกสรบัวหลวง สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น โดยที่บางชนิดตรวจไม่พบเชื้อราเจริญบนสมุนไพร แต่พบสารพิษในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐาน เช่นในอบเชยเทศ โป๊ยกั๊ก ฟ้าทะลายโจร และกานพลู เป็นต้น นอกจากในสมุนไพรแล้วผลิตผลเกษตรที่พบแอฟลาทอกซินส่วนใหญ่เป็นผลิตผลตากแห้ง และอาหารแปรรูป เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาร (ที่เก็บนาน ๆ) ข้าวเหนียว ลูกเดือย งา ข้าวสาลี กระเทียม หอม พริกไทยป่น พริกป่น ปลาป่น และในผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น ถั่วตัด งาตัด น้ำมันถั่วลิสง (ที่นำถั่วลิสงที่ไม่มีคุณภาพมาแปรรูป) และนมสด (จากการที่นำข้าวโพด ถั่วหรืออื่น ๆ ที่มี แอฟลาทอกซิน ชนิด B1 ปนเปื้อนอยู่ เป็นส่วนผสมในอาหารเลี้ยงสัตว์ แอฟลาทอกซิน จะเปลี่ยนจากชนิด B1 เป็น M1) จึงเห็นได้ว่าแอฟลาทอกซินอยู่ใกล้ตัวเรามาก ๆ ในต่างประเทศก็มีรายงานการตรวจพบแอฟลาทอกซินในสมุนไพรเช่นกัน เช่น ในประเทศศรีลังกาพบว่าสมุนไพร 6 ชนิดที่นิยมใช้ในการรักษาโรคนั้นตรวจพบสารพิษทั้ง 6 ชนิด ส่วนในประเทศอินเดียพบว่าสมุนไพรหรือเครื่องเทศที่พบว่ามีการปนเปื้อนของ แอฟลาทอกซิน มากที่สุดคือพริกไทย          



ขั้นตอนใดในการผลิตสมุนไพรที่ตรวจพบแอฟลาทอกซิน

            เชื้อราสามารถเข้าทำลายและสร้างสารพิษได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 80% อุณหภูมิระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส และเกิดได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตสมุนไพรหลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้ว คือในขั้นตอนของการหั่น การตากแห้ง การบด การบรรจุ และการเก็บรักษา หรือแม้แต่ช่วงที่ผู้บริโภคซื้อมา และรับประทานไม่หมดแล้วไม่ปิดเก็บให้มิดชิดในที่แห้ง ความชื้นจากบรรยากาศก็สามารถเข้าไปทำให้สมุนไพรที่ตากแห้งแล้วมีความชื้นมากขึ้น เชื้อราจึงเจริญได้ โดยปกติเชื้อรา Aspergillus spp. อาศัยได้ทั่วไปในอากาศ ดิน เศษซากพืช สปอร์ปลิวกระจายทั่วไปโดยอาจมีปริมาณไม่มากนัก เมื่อมาสัมผัสกับสมุนไพรที่อยู่ระหว่างการตากแห้ง ที่ตากที่ลานบ้าน หรือช่วงที่รอการนำไปบดที่ร้านขายยา หรือในช่วงที่นำมาบรรจุใส่ซองหรือใส่แคปซูล ซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อและเชื้อสร้างสารพิษได้ดี เนื่องจากสมุนไพรที่บดมีขนาดเล็ก มีพื้นที่ผิวในการดูดความชื้นได้มาก จึงมีความชื้นสูงกว่าช่วงตากแห้ง การเจริญของราและการสร้างสารพิษจึงสูงกว่าในขั้นตอนอื่น ๆ กระบวนการผลิตที่ผลิตอย่างมีมาตรฐานตามข้อกำหนด GMP (Good Manufacturing Practice) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง


               ประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดปริมาณสารแอฟลาทอกซิน B1 ในสมุนไพรมีเฉพาะในอาหารสำหรับบริโภคที่กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม/ กิโลกรัม จึงยังเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องระมัดระวังและดูแลตัวเอง ในอดีตคนไทยรับประทานสมุนไพรเป็นยาโดยรับประทานสด แม้ว่าคุณสมบัติของสารออกฤทธิ์จะลดน้อยกว่าสมุนไพรตากแห้ง ดังนั้นถ้ามีโอกาสและสามารถบริโภคสมุนไพรสดก็ควรบริโภคแบบสด แต่หากปฏิบัติไม่ได้ควรเลือกบริโภคสมุนไพรที่มีการบรรจุดี สะอาด มิดชิด ความชื้นจากบรรยากาศไม่สามารถเข้าไปได้ ควรมีทะเบียนยารับรอง ระบุวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ มีการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานขององค์การอาหารและยา การเลือกซื้อสมุนไพรที่ผลิตโดยโรงพยาบาลและบริษัทที่มี อย. รับรองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุด

ข้อมูลโดย : ผศ. เสมอใจ ชื่นจิตต์  ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



สุดท้ายนุชา อยากให้กรณีของพี่แนนเป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ที่เลือกจะทานสมุนไพร หรือ อาหารเสริมต่างๆ ว่าควรเลือกที่เราทราบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ดี ชัดเจน อย่างที่หลายคนทราบกัน และไม่ทราบว่า อย. สมัยนี้ไว้ใจไม่ได้มีเงินเท่านั้นแหละก็ได้เลขมาละ ไม่ได้โทษ อย. นะว่าไม่ได้มาตรฐานเพราะงานเขาอาจจะเยอะตรวจไม่ทัน หรือโดนจับมาก็เสียตังไม่กี่บาท ผลิตขายเป็นแสนเป็นล้าน คุ้มอะ!!


HAPPY NUCHA
23 พฤษภาคม 2557


ฝากกดไลท์เพจรักษาสิว เรื่องสิว เรื่องบ้านๆ ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/Diaryhome

ติดตามบล็อกการรักษาสิว ของนุชา
http://happyacne2you.blogspot.com/


ดีท็อก, ล้างพิษรักษาสิว, สิวล้างพิษ, รักษาสิวด้วยตนเอง,ดีท็อก, ล้างพิษรักษาสิว, สิวล้างพิษ, รักษาสิวด้วยตนเอง
ดีท็อก, ล้างพิษรักษาสิว, สิวล้างพิษ, รักษาสิวด้วยตนเอง,ดีท็อก, ล้างพิษรักษาสิว, สิวล้างพิษ, รักษาสิวด้วยตนเอง



Thursday, May 22, 2014

เทคนิคการกดสิวที่ถูกต้อง โดยให้เกิดรอยช้ำน้อยที่สุด

สิว เรื่องใหญ่ที่หลายคนอดไม่ได้ที่จะไปกดไปแกะ ไปแคะมัน ไหนๆ ก็ทนไม่ได้แล้ว อยากจะกดมันออก 
ความจริงแล้วการกดสิว หากกดถูกวิธีเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะทำให้เซลล์รอบๆ ลดการติดเชื้อ และลุกลามเป็นสิวต่อไปได้ แต่หากกดไม่ดีเชื้อก็จะแพร่กระจาย และเกิดสิวลุกลามได้ และทำให้เซลล์รอบข้างเกิดอาการบวมช้ำ ตามมาด้วยรอยดำ แผลเป็น และหลุมสิว ได้ในอนาคต

วันนี้นุชาจะมาบอกวิธีการกดสิวว่าทำอย่างไร และต้องดูแลผิวอย่างไรหลังกดสิว 




ลักษณะของสิวที่กดได้


สีแดง = หยุด!!!

หากเป็นตุ่มสีแดง ๆ หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณตุ่มนั้น หากกดออกตอนที่เป็นตุ่มแดงอยู่นี้ แล้วก็จะมีปัญหาผิวในชั้นที่ลึกลงไปกว่าเดิม จากนั้นก็จะกลายเป็นผู้ที่มีผิวหน้าแดง ๆ มากกว่าเดิม ดังนั้นเมื่ออยู่ในสถานะเป็นตุ่มแดงเช่นนี้ห้ามทำอะไรกับมันเด็ดขาด



สีเหลือง = เตรียมตัว

หากตุ่มสิวนั้นมีลักษณะเหมือนมีไขมันเหลือง ๆ อยู่ข้างใน ขั้นนี้สามารถจัดการบีบ/กดออกได้เลย แต่ต้องใช้ศิลปะและเทคนิคในการทำ เริ่มต้นด้วยการล้างมือให้สะอาดและล้างผิวบริเวณตุ่มสิวนั้นให้สะอาดด้วย ไม่เช่นนั้นแล้วแบคทีเรียที่มือและหน้าจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ ใช้ทิชชู่วางข้าง ๆ ตุ่มหนองนั้นทั้งสองข้าง แล้วใช้นิ้วมือสองข้างค่อย ๆ ดันเข้าหากันอย่างเบามือ อย่าให้นิ้วมือหรือเล็บบีบ/กดลงไปที่สิวโดยตรงเป็นอันขาดเพราะจะทำให้ผิวเป็นรอยช้ำจากการใช้เล็บจิกกด

เมื่อกดจนเห็นว่าหนองเหลือง ๆ ออกไปหมดจนเหลือแต่น้ำใส ๆ แล้วเมื่อกดต่อไปจะมีเลือดออก ถึงตอนนี้ให้หยุดกด/บีบได้ เพราะหมายถึงว่าหนองได้ออกไปจนหมดแล้ว จากนั้นให้ใช้พวกยาปฏิชีวนะแต้มที่แผลสิว หรือจะใช้เป็นทีทรีออยล์ก็ได้ เพื่อป้องกันการอักเสบของผิวบริเวณที่ถูกกด/บีบ จากนั้นล้างมือให้สะอาดอีกครั้ง การกด/บีบสิวลักษณะนี้ออกไปนั้นจะช่วยให้หายได้เร็วกว่าการปล่อยทิ้งไว้ให้หายเอง



เขียว = เริ่ม

หากว่าสิวนั้นเป็นหนองเขียว ให้บีบออกได้เลย แต่ปกติแล้วจะไม่ค่อยเป็นแบบนี้




สิวหัวขาว และสิวหัวดำ

มีกฎอยู่ว่า หากเป็นสิวนั้นมีหัวเป็นสีดำให้กดออกได้ แต่หากเป็นตุ่มเล็ก ๆ สีขาวอย่ากดออก สิ่งสำคัญในการกดอยู่ที่มือที่สะอาด, ทิชชู่ และต้องหยุดกดหากไม่มีอะไรออกมาแล้ว หรือว่าเริ่มมีเลือดออกมา - - การกดสิวหัวดำนี้สามารถใช้ที่กดสิวเป็นเครื่องมือได้ แต่จริง ๆ แล้วก็ใช้นิ้วมือโดยมีทิชชู่เป็นตัวกลางนั้นดีกว่าเป็นสิบเท่า


สิวหัวดำ เป็นสิวหัวเปิดอันนี้กดได้แต่ต้องใช้เทคนิคเยอะหน่อย

สิวหัวหนอง เป็นสิวอักเสบระยะสุดท้ายแล้ว อันนี้ก็กดได้

สิวหัวขาวเปิด อันนี้ก็กดได้

สิวหัวขาวปิด อันนี้ไม่ควรกด เสี่ยงเกินไป

สิวอักเสบหัวแดง ไม่ควรกดอย่างยิ่ง เพราะหัวสิวยังไม่โผล่ออกมา ยิ่งกดก็ยิ่งอักเสบมากขึ้น

สิวไม่มีหัว คือมันจะบวมๆแต่ก็ไม่แดง ไม่อักเสบ ไม่ควรกดเพราะหัวสิวอยู่ลึก ไม่แสดงหัวสิวออกมา

สิวหัวช้าง อันนี้ก้ำกึ่งหน่อยหากมีหัวสิวโผล่มาก็อาจจะกดได้ แต่ถ้าไม่มีก็ไม่ควรกด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนกด

สรุปก็คือ - ดูก่อนว่าสิวเป็นแบบไหน แดง เหลือง เขียว และจำไว้ว่าสิ่งที่สำคัญที่สุดคือการรู้ว่าเมื่อไหร่ที่ควรเริ่มและเมื่อไหร่ที่ควรหยุด



เมื่อทราบแล้วว่า สิวแบบไหนควรกดและไม่ควรกด มาเริ่มขั้นตอนของการกดสิวกันเลยนะครับ



อุปกรณ์ที่ต้องใช้ 

1.แท่งกดสิว / เข็มอินซูลิน ไม่มีก็ใช้เข็มทั่วไปนี่แหละ
หาซื้อได้ที่ BigC โลตัส แม้กะทั้ง 7-11 ยังมีขาย ราคาจำไม่ได้แล้ว


2.ethyl alcohol สำหรับเช็ดแผล

3.สำลี


4. เบตาดีน

5.น้ำเกลือล้างแผล




ขั้นตอนการกดสิว

1.ทำความสะอาดใบหน้า ด้วยผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่ใช้อยู่ ซับหน้าให้แห้งสะอาด

2.เช็ดทำความสะอาด ที่กดสิว / เข็ม ด้วยแอลกอฮอร์ให้สะอาด

3.เช็ดผิวบริเวณที่เป็นสิว โดยใช้สำลีชุบน้ำเกลือล้างแผล แล้วเช็ดผิวบริเวณที่เป็นสิวอย่างเบามือ

4.แล้วใช้ที่กดสิว เอาบริเวณที่เป็นวงกลมกดลงไปตรงกลางของสิวที่จะกด แล้วๆ ค่อยลงอย่างเบามือ 
หากไม่ออกไม่ต้องเค้นเพราะจะทำให้ผิวเกิดการอักเสบ และเกิดการติดเชื้อได้  จากนั้นทำความสะอาดผิวให้สะอาดด้วยการเช็ดด้วยน้ำเกลือ

5.กรณีเป็นสิวหัวดำ อุดตัน อาจจะใช้เข็มจิ้มเพื่อเปิดหัวสิว แล้วค่อยใช้ที่กดสิวกดออก ย้ำ ต้องทำอย่างเบามือมากๆ ไม่งั้นจะเกิดการอักเสบได้

6.กรณีเป็นสิวอักเสบจะใช้เข็มสะกิดออกเบาๆ หากมีหัวให้กดออก 

7.เมื่อกดเสร็จแล้ว ให้ล้างหน้าให้สะอาด และเช็ดทำความสะอาดด้วยน้ำเกลืออีกครั้ง จากนั้นให้ใช้เบตาดัน แต้มบริเวณที่กดสิวนั้น จะชวยลดอาการอักเสบ และอาการบวมแดง จากกการกดสิวได้


การกดสิวเป็นวิธีการที่จะต้องใจเย็นมากๆ และต้องทำอย่างเบามือ ไม่ใช่ว่าอยากขะกดตรงไหนก็กด กดไม่ได้ก็เค้นสุดแรงเกิด หากเป็นเช่นนั้นเตรียมรับมือกับหลุมสิวได้เลยนะครับ แต่หากทำอย่างถูกวิธีวิเคราะห์สิวก่อนการกดจะช่วยลดการเกิดแผลและหลุมสิวได้ แต่หากไม่มั่นใจว่าจะกดไ้ดรึเปล่า ไม่แน่ใจ กลัว แนะนำให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญกดออกให้จะดีกว่าครับ


ขั้นตอนการดูแลผิวหลังการกดสิว

- งดการใช้ผลิตภัณฑ์ผลัดเซลล์ผิว ละลายสิว ทุกชนิด รวมถึง tretinoin ด้วย
- งดการขัดหน้า พอกหน้า ใน 2-3 วัน หลังจากกดสิว
- งดการแต่งหน้าภายในวันที่กดสิว หรือ 24 ชม. 
- สามารถใช้เจลว่านหางจระเข้ หรือ มอยเจอร์ไรเซอร์บำรุงผิวได้


HAPPY NUCHA
22 พฤษภาคม 2557
22 : 52 PM.


แหล่งอ้างอิง
ชนิดของสิวที่ควรกด Reference / Stopspots.org แปลและเรียบเรียงโดย Acnethai.com



กดสิว, การกดสิว, กดสิวด้วยตนเอง, ชนิดของสิว, รักษาสิว, รักษาสิวด้วยตนเอง, กดสิว, การกดสิว, กดสิวด้วยตนเอง, ชนิดของสิว, รักษาสิว, รักษาสิวด้วยตนเอง, 

เรื่องเล่าของพี่สาว ครีมฟ้า - ขาว ทำพิษหน้าพัง

สวัสดีครับ วันนี้นุชาจะมาเล่าเรื่องของพี่สาวนุชา ที่นางไปใช้ ครีมฟ้า-ขาว มาครับ
เหตุการณ์เริ่มแรกเกิดจาก เพื่อนที่ทำงานของนาง เป็นสิว แต่หลังจากใช้ ครีมฟ้า - ขาว สิวหาย !

ครีมที่พี่สาวซื้อมา มีสบู่อีก 1 ก้อน นุชาเอาไปถูตัวหมดละ อิอิ

นางเล่าว่า สภาพผิวคือสิวหายในเวลาที่รวดเร็ว และรอยสิวก็หายไวมากๆ ไม่ถึง สองเดือน หน้าใส ออร่า
เมื่อนางเห็นทุกสิ่งกับตา ก็เลยเกิดกิเลสอยากใช้ครีมเหมือนกับเพื่อนสาวบ้าง ทั้งๆ ที่ ตัวเองไม่ได้มีปัญหาผิวอะไรเลย


ตอนแรกนุชาก็ไม่ได้ เอะใจอะไรมาก เพียงแต่ได้ยินบอกมาแว่วๆ ครีมมีสองตัว และมีสบู่ 1 ก้อน คิดว่าในใจคิงจะเป็นแบรนด์ทั่วไป แต่พอซื้อมาเท่านั้น... ครีมฟ้า- ขาว ที่นุชา รู้จักมันดี เพราะชื่อเสียงล่ำลือกับสารอันตรายมีมา นมนาน


นุชา ก็บอกนางไป ว่าเป็นครีมอันตรายนะ ไม่เชื่อก็ลองใช้ดู พูดกรอกหูทุกวัน และสบู่ที่แถมมา เป็นสบู่ก้อนส้มๆ น่าจะนำมาจากดอนเมือง แล้วปริ้นสติ๊กเกอร์ติด เพราะนุชาเคยไปเดินตลาดใหม่ดอนเมืองแล้วเห็นมากับตานั่นเอง กลิ่นเดะๆ เลย มันใช่อะ


เมื่อจบประเด็นไป จากที่นุชาพร่ำบอก กรอกหูทุกวันว่าอันตราย แต่พี่สาว นุชา นางก็ทาไป ไม่รู้ทานานกี่วัน แต่วันดีคืนดี สงสัย กลัวเพราะ นุชาบอกนั่นเอง ว่าครีม ตลับสองสามร้อยบาท หน้าพังขึ้นมา รักษาเป็นหมื่นเป็นแสน ไม่คุ้มกันนะนุชาว่า


ทีนี้นางก็เลย งดใช้ แล้วกลับไปใช้ ผลิตภัณฑ์เดิมที่นางเคยใช้อยู่
เอาล่ะสิ... อาการเกิดแล้ว จากที่หยุดครีมกระทันหัน สิวเริ่มผุดขึ้นที่หน้าแล้ว เกิดอาการแดง มีเม็ดอุดตัน
นุชาก็ไม่ได้ทัก แต่สังเกตุเอา กลัวนางจิตตก แต่อาหารหน้าพังก็ไม่รุนแรงมาก เพราะคงจะไหวตัวหักดิบเลิกใช้ทัน


ตอนนี้ก็ไม่ได้รักษาหน้าอะไรแล้วเพราะอาหารดีขึ้นเกือบ 100%  ก็ใช้ผลิตภัณฑ์เดิมๆ เพราะสิวที่ขึ้นเล็กน้อย ไม่รุนแรง ยังคงแต่งหน้าได้อยู่เลยไม่ได้กังวลอะไรกับพี่สาวแล้ว

นุชารู้ได้อย่างไรว่าครีมฟ้าขาวมีสารอันตราย เมื่อก่อนเพื่อนนุชา ใช้ครับ นางบอกว่าเป็นครีมที่เอามาจาก รพ.เชียงราย ขายโดยนางพยาบาล มั่นใจใช้แล้วขาวใส เนียนเด้งแน่นอน แต่ทว่าครีมที่ถูกผสมด้วยสารสเตียรอย และ อีกตลับเป็นยาแก้อาหารแพ้


ซึ่งวิธีใช้ข้างต้นคือ ต้องทาครีมตัวนึงก่อน แล้วค่อยทาครีมอีกตัวนึงทับ นั่นหมายความว่าให้ทาสารสเตียรอยก่อน แล้วทายาแก้แพ้ที่มาด้วยกันทับ ตอนใช้จึงไม่มีอาอาการแพ้อะไร เพราะถูกฤทธิ์ของยาแก้แพ้กดทับอยู่นั่นเอง


นุชาบังเอิญไปเจอข่าวในอินเตอร์เน็ตพบว่า ครีมไม่ได้ผลิตจาก รพ. เชียงรายครับ


หากใครจะใช้ผลิคภัณฑ์ ควรศึกษาข้อมูลดีๆ ใช้ครีมที่เชื่อถือได้ จะบอกว่า อย. สมัยนี้เชื่อถือไม่ได้แล้วนะครับ เจ้าหน้าที่สุ่มตรวจคงไม่ไหว เพราะแต่ละวันเครื่องสำอางออกใหม่เยอะมาก นุชาเอง ก็เคยพบปัญหามาแล้ว ครีมมี อย. แต่ใช้แล้วหน้าพัง ทั้งที่เครมว่าปลอดภัย เลิกใช้ไม่เป็นไร พอเลิกเท่านั้น พัง!!

จึงขอเขาเคสของพี่สาวนุชาเป็นอุทาหร สอนใจ ว่าอย่าหลงไปตามกิเลส เห็นว่าขาวไว ใสไว แล้วอยากจะไปตามเขา ทุกอย่างมีเหตุมีผลของมัน ขาวสุดก็ขาวได้เท่าที่พันธุกรรมเรากำหนดมา

หันไปทานผักผลไม้ ออกกำลังกายเป็นประจำ นอนไม่เกิน 5 ทุ่ม
ขับถ่ายให้ได้อย่างน้อย 2 วัน/ครั้ง

อยากทำให้ผลถูก เหตุที่ถูกก็จะตามมาเองครับ



ขอบคุณครับ
นุชา

22 พฤษภาคม 2557
16:33 PM.

ครีมฟ้าขาว, หน้าพัง, หน้าแหก, สิวขึ้น, หน้าพังยับ, สารสเตียรอย