Friday, May 23, 2014

อุทาหรณ์สอนใจ กินดีท็อกล้างพิษทำลำไส้ป่วย ระบบร่างกายแย่จนเข้าโรงพยาบาล

สวัสดีครับ บทความนี้นุชาคงไม่ได้มารีวิว ผลิตภัณฑ์อะไรนะครับ แต่มาบอกเล่ากรณีของพี่แนน
ที่ได้ไปกินสมุนไพรดีท็อกยี่ห้อนึง ที่เครมว่า... สามารถล้างพิษได้ ไม่ทำให้ลำไส้ติดขัด และปลอดภัย
แต่กลับกลายเป็นว่าทำให้ร่างกายแย่ลงๆ นุชาขอไม่เอ่ยยี่ห้อนะครับ 

ซึ่งก่อนหน้านี่พี่แนน ได้เคยปรึกษาการรักษาสิวกับนุชามาก่อน จำไม่ได้แล้วว่านานเท่าไหร่ ถ้าจำไม่ผิด น่าจะปีกว่า ได้ เร็วเหมือนกันครับ คือเวลามีอะไร นุชากับพี่แนนก็จะมักแลกเปลี่ยนประสบการณ์กันอยู่เสมอ 



บังเอิญวันนี้ นุชาได้โพสรายละเอียดสมุนไพรดีท็อกที่นุชาทานอยู่ประจำ ซึ่งชอบมากที่สุดจากบรรดาญี่ห้อต่างๆ ด้วยเหตุผลว่าสะอาดปลอดภัย เคยไปเห็นขั้นตอนการผลิตของเขา และผลิตภัณฑ์มีส่วนผสมจากสมุนไพรจากในประเทศไทย ทำให้นุชาทราบคุณสมบัติแต่ละตัวเป็นอย่างดี 




หลังจากที่นุชาได้คุยกันทาง Inbox กับพี่แนนได้ความว่า 

พี่แนนได้กินดีท็อกชนิดไปประมาณ 2-3 เดือน ตอนแรกก็ได้ผลดีมาก ช่วงเรื่องระบบขับถ่าย ถ่ายดีถ่ายคล่อง แต่พอหลังจากนั้นอยู่ๆ มาวันนึงเกิดอาหารตกขาวผิดปกติ และเกิดบ่อยครั้งมาก และสังเกตุได้ว่า ช่วงที่ทานสมุนไพรฉี่ของตัวเองจะเหลืองมาก..... เมื่อดื่มน้ำเยอะๆ คาดว่าฉี่จะเป็นสีขาว แต่กลับออกมาเหลืองมาก 



ถึงขั้นเข้า รพ. เพราะ ตกขาวผิดปกติ และเกิดอาการติดเชื้อทางเดินปัสสวะ และมีอาการเป็นเชื้อราในช่องคลอด.....

จนทำให้ตอนนี้ต้องเลิกกินเด็ดขาด และกลับมาฟื้นฟูลำไส้ และสุขภาพของตนเองด้วยการทานโยเกิร์ต ผักผลไม้แทนครับ


บทสนทนาที่นุชาคุยกับพี่แนนมีดังนี้นะครับ 






นุชามาวิเคราะห์ดูครับ ว่าทำไมพี่แนนถึงเกิดอาการดังกล่าว นุชาเคยติดตามสมุนไพรยี่ห้อนี้อยู่ว่า มีส่วนผสมอะไรบ้าง ส่วนผสมส่วนใหญ่ไม่คุ้นหู และส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกปลูกและผลิตในประเทศไทย นุชาไม่ทราบว่าเขาเขามีคุณสมบัติอะไรที่ดีหรือไม่ดี เพราะพ่อแม่ พี่น้อง ที่บ้านไม่เคยกิน เราก็ไม่อาจทราบว่าเมื่อทานไปนานๆ จะเป็นอะไรหรือไม่

ประเด็นที่สอง เกิดการมาตรฐานการผลิต การคัดแยกสมุนไพร และการบรรจุไม่ได้มาตรฐาน ทำให้เกิดการปนเปื้อนของเชื้อโรคและเชื้อรา ทำให้เกิดผลเสีนต่อร่างกายแทน

นุชาไปเจอบทความนึงน่าสนใจเลยเอาข้อมูลมาให้ทราบกันนะครับว่าสมุนไพรที่มีเชื้อราปนเปื้อนอันตรายแค่ไหน



สารแอฟลาทอกซินในสมุนไพรตากแห้ง


               สารพิษแอฟลาทอกซิน (aflatoxin) เป็นสารพวก toxic secondary metabolite ผลิตโดยเชื้อราในกลุ่มราในโรงเก็บ (storage fungi) เชื้อราตัวสำคัญที่สร้างสารพิษนี้ได้ ได้แก่ Aspergillus flavus, A. parasiticus, Penicillium citrinum เป็นต้น ได้มีการศึกษาการสร้างแอฟลาทอกซินของ A. flavus ในห้องปฏิบัติการพบว่า A. flavus บางสายพันธุ์สร้างแอฟลาทอกซินในปริมาณสูงมาก บางตัวก็ไม่สร้าง ดังนั้นการที่พบเชื้อราเหล่านี้บนผลิตผลเกษตรจึงไม่สามารถสรุปว่าผลิตผลนั้นมีสารพิษ ในทำนองเดียวกันก็อาจมีการปนเปื้อนของแอฟลาทอกซินในผลิตผล โดยที่เราไม่เห็นเชื้อราเนื่องจากเชื้อราอาจถูกกำจัดออกไป โดยผู้ผลิตคิดว่าเมื่อไม่มีเชื้อราปรากฏให้เห็น ผลิตผลนั้นก็สะอาดปลอดภัย บริโภคได้ แต่ไม่ทราบว่าเชื้อราได้สร้างสารพิษและยังตกค้างอยู่ในผลิตผลนั้น ๆ การกำจัดแอฟลาทอกซินทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากสารพิษทนความร้อนได้ถึง 250 องศาเซลเซียส เป็นสารพิษที่ก่อมะเร็งที่ตับ และตับอักเสบทั้งในมนุษย์และสัตว์ที่บริโภคอาหารที่มีสารพิษนี้เข้าได้จึงเห็นได้ว่าเป็นสารพิษที่อันตรายมาก ๆ      



สมุนไพรและผลิตผลเกษตรอื่น ๆ ที่พบแอฟลาทอกซิน

                เชื้อราสร้างสารพิษแอฟลาทอกซินได้ในสมุนไพรเกือบทุกชนิด ตัวอย่างสมุนไพรที่รู้จักกันดีและใช้กันอย่างแพร่หลายที่ตรวจพบแอฟลาทอกซินได้แก่ ข้าวเย็นเหนือ อบเชยเทศ โป๊ยกั๊ก ฟ้าทะลายโจร ขิง มะขามแขก บอระเพ็ด กานพลู ขมิ้นชัน มะตูม ขี้เหล็ก แสมสาร แห้วหมู พิกุล สารภี ระย่อม อบเชยญวน เกสรบัวหลวง สมอไทย มะขามป้อม เป็นต้น โดยที่บางชนิดตรวจไม่พบเชื้อราเจริญบนสมุนไพร แต่พบสารพิษในปริมาณที่สูงกว่ามาตรฐาน เช่นในอบเชยเทศ โป๊ยกั๊ก ฟ้าทะลายโจร และกานพลู เป็นต้น นอกจากในสมุนไพรแล้วผลิตผลเกษตรที่พบแอฟลาทอกซินส่วนใหญ่เป็นผลิตผลตากแห้ง และอาหารแปรรูป เช่น ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวสาร (ที่เก็บนาน ๆ) ข้าวเหนียว ลูกเดือย งา ข้าวสาลี กระเทียม หอม พริกไทยป่น พริกป่น ปลาป่น และในผลิตภัณฑ์แปรรูปเช่น ถั่วตัด งาตัด น้ำมันถั่วลิสง (ที่นำถั่วลิสงที่ไม่มีคุณภาพมาแปรรูป) และนมสด (จากการที่นำข้าวโพด ถั่วหรืออื่น ๆ ที่มี แอฟลาทอกซิน ชนิด B1 ปนเปื้อนอยู่ เป็นส่วนผสมในอาหารเลี้ยงสัตว์ แอฟลาทอกซิน จะเปลี่ยนจากชนิด B1 เป็น M1) จึงเห็นได้ว่าแอฟลาทอกซินอยู่ใกล้ตัวเรามาก ๆ ในต่างประเทศก็มีรายงานการตรวจพบแอฟลาทอกซินในสมุนไพรเช่นกัน เช่น ในประเทศศรีลังกาพบว่าสมุนไพร 6 ชนิดที่นิยมใช้ในการรักษาโรคนั้นตรวจพบสารพิษทั้ง 6 ชนิด ส่วนในประเทศอินเดียพบว่าสมุนไพรหรือเครื่องเทศที่พบว่ามีการปนเปื้อนของ แอฟลาทอกซิน มากที่สุดคือพริกไทย          



ขั้นตอนใดในการผลิตสมุนไพรที่ตรวจพบแอฟลาทอกซิน

            เชื้อราสามารถเข้าทำลายและสร้างสารพิษได้ดีในสภาพที่มีความชื้นสัมพัทธ์ไม่ต่ำกว่า 80% อุณหภูมิระหว่าง 28-35 องศาเซลเซียส และเกิดได้ในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิตสมุนไพรหลังจากเก็บเกี่ยวมาแล้ว คือในขั้นตอนของการหั่น การตากแห้ง การบด การบรรจุ และการเก็บรักษา หรือแม้แต่ช่วงที่ผู้บริโภคซื้อมา และรับประทานไม่หมดแล้วไม่ปิดเก็บให้มิดชิดในที่แห้ง ความชื้นจากบรรยากาศก็สามารถเข้าไปทำให้สมุนไพรที่ตากแห้งแล้วมีความชื้นมากขึ้น เชื้อราจึงเจริญได้ โดยปกติเชื้อรา Aspergillus spp. อาศัยได้ทั่วไปในอากาศ ดิน เศษซากพืช สปอร์ปลิวกระจายทั่วไปโดยอาจมีปริมาณไม่มากนัก เมื่อมาสัมผัสกับสมุนไพรที่อยู่ระหว่างการตากแห้ง ที่ตากที่ลานบ้าน หรือช่วงที่รอการนำไปบดที่ร้านขายยา หรือในช่วงที่นำมาบรรจุใส่ซองหรือใส่แคปซูล ซึ่งเป็นช่วงที่มีโอกาสปนเปื้อนเชื้อและเชื้อสร้างสารพิษได้ดี เนื่องจากสมุนไพรที่บดมีขนาดเล็ก มีพื้นที่ผิวในการดูดความชื้นได้มาก จึงมีความชื้นสูงกว่าช่วงตากแห้ง การเจริญของราและการสร้างสารพิษจึงสูงกว่าในขั้นตอนอื่น ๆ กระบวนการผลิตที่ผลิตอย่างมีมาตรฐานตามข้อกำหนด GMP (Good Manufacturing Practice) จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง


               ประเทศไทยยังไม่มีข้อกำหนดปริมาณสารแอฟลาทอกซิน B1 ในสมุนไพรมีเฉพาะในอาหารสำหรับบริโภคที่กำหนดให้มีได้ไม่เกิน 20 ไมโครกรัม/ กิโลกรัม จึงยังเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องระมัดระวังและดูแลตัวเอง ในอดีตคนไทยรับประทานสมุนไพรเป็นยาโดยรับประทานสด แม้ว่าคุณสมบัติของสารออกฤทธิ์จะลดน้อยกว่าสมุนไพรตากแห้ง ดังนั้นถ้ามีโอกาสและสามารถบริโภคสมุนไพรสดก็ควรบริโภคแบบสด แต่หากปฏิบัติไม่ได้ควรเลือกบริโภคสมุนไพรที่มีการบรรจุดี สะอาด มิดชิด ความชื้นจากบรรยากาศไม่สามารถเข้าไปได้ ควรมีทะเบียนยารับรอง ระบุวันเดือนปีที่ผลิตและวันหมดอายุ มีการควบคุมคุณภาพตามมาตรฐานขององค์การอาหารและยา การเลือกซื้อสมุนไพรที่ผลิตโดยโรงพยาบาลและบริษัทที่มี อย. รับรองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ดีที่สุด

ข้อมูลโดย : ผศ. เสมอใจ ชื่นจิตต์  ภาควิชาการจัดการศัตรูพืช คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์



สุดท้ายนุชา อยากให้กรณีของพี่แนนเป็นอุทาหรณ์ให้กับผู้ที่เลือกจะทานสมุนไพร หรือ อาหารเสริมต่างๆ ว่าควรเลือกที่เราทราบรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ดี ชัดเจน อย่างที่หลายคนทราบกัน และไม่ทราบว่า อย. สมัยนี้ไว้ใจไม่ได้มีเงินเท่านั้นแหละก็ได้เลขมาละ ไม่ได้โทษ อย. นะว่าไม่ได้มาตรฐานเพราะงานเขาอาจจะเยอะตรวจไม่ทัน หรือโดนจับมาก็เสียตังไม่กี่บาท ผลิตขายเป็นแสนเป็นล้าน คุ้มอะ!!


HAPPY NUCHA
23 พฤษภาคม 2557


ฝากกดไลท์เพจรักษาสิว เรื่องสิว เรื่องบ้านๆ ด้วยนะครับ
https://www.facebook.com/Diaryhome

ติดตามบล็อกการรักษาสิว ของนุชา
http://happyacne2you.blogspot.com/


ดีท็อก, ล้างพิษรักษาสิว, สิวล้างพิษ, รักษาสิวด้วยตนเอง,ดีท็อก, ล้างพิษรักษาสิว, สิวล้างพิษ, รักษาสิวด้วยตนเอง
ดีท็อก, ล้างพิษรักษาสิว, สิวล้างพิษ, รักษาสิวด้วยตนเอง,ดีท็อก, ล้างพิษรักษาสิว, สิวล้างพิษ, รักษาสิวด้วยตนเอง



No comments:

Post a Comment