Tuesday, May 6, 2014

บอกเล่า : ยารักษาสิวชนิดกิน

สวัสดีครับ วันนี้นุชาจะขอยกประเด็นเกี่ยวกับ การทานยารักษาสิว มีหลายๆ คนสอบถามนุชาว่า 
ยาตัวนั้น ยาตัวนี้ดีหรือไม่ ใช้แล้ว กินแล้วสิวหายจริงหรือ ? 

วันนี้นุชาขอยกประเด็นพูดเกี่ยวกับ การทานยารักษาสิว เท่านั้นนะครับ เดี๋ยวครั้งหน้าจะรวบรวม ยารักษาสิวชนิดทา และรีวิว เล็กๆ น้อยๆ ที่นุชาเคยใช้มาให้ทุกคนได้ทราบโดยทั่วกันครับ 


เมื่อนานมาแล้วประมาณตอนอายุ 16 ปี นุชาเคยทานยารักษาสิว 2 ชนิดครับ ชนิดแรกคือ Clindamycin เป็นยารักษาสิวชนิดกิน โดยเภสัชจัดให้ทานเพียง 7 วัน แล้วต้องหยุดครับ เพราะจะทำให้ร่างกายดื้อยาหรือเกิดผลข้างเคียงครับ 

Clindamycin  นุชาเคยทานไป 2 ครั้ง รวม 2 เดือน เดือนละ 1 ชุด หมอจะให้ทานวันละ 2 เม็ด เช้า - เย็น หลังอาหารทันที เพราะยาทานแล้วนุชารู้สึกว่าจะทำให้เวียนหัวครับ ถามว่ารักษาสิวได้ไหม ไม่ได้เลยครับ ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง เลยเลิกทานไปครับ



ชนิดที่สองคือ Minocycline Doxycycline ซึ่งจ่ายโดยแพทย์ผิวหนังที่ สถาบัน โรคผิวหนังบางเขน 
หลายคนน่าจะทราบกันดีว่ายานี้มีคุณบัติที่ช่วยลดการอักเสบ และช่วยฆ่าเชื้อ แบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของการเกิดสิวจึงทำให้สิวดูลดลงครับ 


นุชาได้ทานยาชนิดเพราะเมื่อปี พ.ศ. 2555 นุชาได้ย้ายมาอยู่ กทม และประกอบกับได้ใช้เครืิ่องสำอางที่รักษารอยสิว แต่สิวกลับเห่อซะงั้น.... ตอนนี้ทราบข่าวมาว่าแบรนด์ที่ใช้ไปได้เลิกจำหน่ายและ เปลี่ยนชื่อใหม่ซะแล้ว อาการตอนนั้นสิวจะเห่อมาก เป็นทั้งอักเสบเม็ดแดง บวม ปวดคัน ซึ่งไม่เคยเป็นเป็นมาก่อน

การทานยา  Minocycline Doxycycline  ก็ทาน  เช้า - เย็น หลังอาหารทันที 
ความรู้สึกสิวอักเสบลดลง 10% แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงจนน่าพอใจ ผลข้างเคียงที่นุชาทานยาตัวนี้รู้สึกคลื่นไส้ระหว่างวัน เวียนหัว จะอ๊วก มากครับ

ด้วยความที่ว่า นุชาดูแลสุขภาพและค่อนข้างแอนตี้การทานยา เมื่อมาค้นคุณสมบัติของยา และ ผลเสีย เมื่อทานครบจำนวนที่หมอสั่งให้ก็ไม่ได้ทานอีก สรุปสิวก็ยังคงเดิมไม่ได้หายขาด แต่ดีขึ้นในระดับนึงครับ

เอาล่ะ อย่างที่บอกไป ตลิดชีวิตที่ผ่านมาเคยทานยารักษาสิว 2 ชิดนนี้เท่านั้น และตอนนี้ก็ไม่คิดที่จะกลับไปกินอีกแล้วครับ มาทราบกันต่อดีกว่าว่า

ยารักษาสิวชนิดรับประทานได้แก่ 

ยาปฏิชีวนะ
  1. Tetracyclin เป็นยาที่ใช้รักษาสิวตั้งแต่อดีตจนปัจจุบันมักจะให้ในรายที่ผู้ป่วยเป็นสิวค่อนข้างมากตั้งแต่สิวที่เป็นหนอง โดยเริ่มต้น 500-1000 มิลิกรัมต่อวัน เมื่อดีขึ้นจึงลดขนาดของยาลง และอาจจะต้องให้ยาในขนาดต่ำเพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำ ไม่ควรให้ยานี้ในเด็กและคนท้อง
  2. Erythromycin สำหรับผู้ที่ใช้ tetracyclin ไม่ได้เช่น เด็ก คนท้อง คนที่แพ้ยา tetracyclin
  3. Minocycline Doxycycline เป็นยาสังเคราะกลุ่ม tetracycline ห้ามใช้ในคนท้อง

ฮอร์โมน

           estrogen เป็นฮอร์โมนที่ออกฤทธิ์ต้านฮอร์โมนแอนโดรเจนทำให้มีการสร้างไขมันลดลง แต่การใช้ต้องระวังผลข้างเคียงเช่นมะเร็งเต้านม  ยาคุมกำเนิด นิยมใช้รักษาสิวมากกว่า estrogen เดี่ี่ยวๆเนื่องจากผลข้างเคียงต่ำกว่า อาจจะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน คัดเต้านม การใช้ยาคุมเมื่อการรักษาวิธีอื่นแล้วไม่ได้ผล

Steroid

จะใช้ในกรณีที่เป็นสิวมาก ควรจะใช้ในระยะเวลาสั้นๆ เพราะหากใช้ในระยะเวลานานจะเกิดโรคแทรกซ้อน (อันตรายมากกกกกกกกกกกกก)

Isotretinoin

             เป็นยาที่ใช้ได้ผลสำหรับสิวที่ดื้อต่อยาหรือการรักษา เหมาะสำหรับสิวหัวช้าง cystic acne ยาชนิดรับประทาน Isotretinoin ใช้รักษาสิวชนิดดื้อต่อการรักษาชนิดอื่น ยานี้จะทำให้ไขมันและเชื้อลดลงจึงไม่เกิดสิว ยานี้มีผลข้างเคียงมากจึงไม่แนะนำให้ซื้อรับประทานเอง ผลข้างเคียงที่พบได้คือปากแห้ง ผิวแห้งแตก ผมร่วงปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อ สำหรับคนท้องก็อาจจะทำให้เด็กเกิดมาพิการและแท้ง ผลข้างเคียงอื่นๆที่พบได้แก่ คลื่นไส้อาเจียนปวดข้อปวดกระดูก ปวดหัว การใช้ยานี้ต้องคุมกำเนิด และหากต้องการตั้งท้องต้องหยุดยานี้ 1 เดือน


จากที่นุชาได้กล่าวไปจะบอกเพียงคร่าวๆ ว่ามีอะไรบ้าง เพื่อเป็นความรู้ให้หลายๆ คนได้ทราบกันว่ามีอะไรบ้าง แต่ไม่ได้ชี้นำให้ซื้อมารับประทานเอง เพราะผลค้างเคียงทั้งต่อตับ กระเพราะ ลำไส้ มีมากเกินกว่าผลดีที่จะได้รับครับ นุชานำว่าถ้าไม่จำเป็นจริงๆ อย่าทานเลยนะครับเพื่อสุขภาพของท่านจะได้ยืนยาวขึ้นอีกหน่อย

http://www.yaandyou.net/index.php/component/drug/?nsetidT=3801&drugname=Tetracycline&drugtype=g 

- John S. Strauss, MD, Chair of Workgroup, Guidelines of care for acne vulgaris management,4Th International Workshop for the Study of Itch Sanfrancisco California, September 9-11,2007, http://www.aad.org/research/_doc/ClinicalResearch_Acne%20Vulgaris.pdf

- Lehmann HP, Robinson KA, Andrews JS, Holloway V, Goodman SN. Acne therapy:  Acne therapy: a methodologic review. J Am Acad Dermatol 2002;47:231-40.

- ACNE, U.S. National Library of Medicine 8600 Rockville Pike, Bethesda, MD 20894 U.S. Department of Health and Human Services National Institutes of Health, http://www.nlm.nih.gov/medlineplus/acne.html

- American Academy of Dermatology, ACNE, http://www.skincarephysicians.com/acnenet/acne.html


No comments:

Post a Comment