Tuesday, October 22, 2013

สมุนไพรรักษาสิว Version. ชนิดรับประทาน By นุชา

สวัสดีครับ วันนี้นุชาเลิกเรียนเร็ว จึงรีบกลับบ้านก่อน ระหว่างช่วงเวลาที่นั่งรถตู้คิดอยู่นานว่าจะมาเขียนบล็อกอะไรดีที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้รักษาสิวตามแนวธรรมชาติบำบัดแบบประยุกต์ ชิวๆ ตามประสาเด็กนักศึกษาและวัยทำงาน

จึงตัดสินใจเขียนบล็อกเรื่อง สมุนไพรที่สามารถรักษาสิวได้" สิ่งที่จะเขียนคือสมุนไพรที่นุชา ได้ทดลองทานกับตัวเอง และที่เขาว่าสามารถรักษาสิวได้ จะได้ผลหรือไม่อย่างไร มาติดตามรับชมข้อมูลกันนะครับ


สมุนไพรที่นุชาเคยได้ทดลองทานเพื่อรักษาสิวมีดังนี้นะครับ :
  1. ย่านาง
  2. ขมิ้นชัน
  3. ดอกอัญชัน

ซึ่งแต่ละตัวจะมีคุณสมบัติข้อดีข้อเสียแตกต่างกันออกไปนะครับ มาดูคุณสมบัติิอย่างย่อ และสารสำคัญที่ช่วยในเรื่องรักษาสิว หรือ อื่นๆ อย่างไรบ้างมาชมกันครับ

เก็บใยย่านางริมรั่ว บ้านๆ 


ปั่นสดแยกกาก บ้านๆ 

ได้น้ำพร้อมดื่ม เขียวเชียวเนาะ

1. ย่านาง
เป็นสมุนไพรที่ที่โด่งดังมาก สืบเนื่องจากคุณหมอเขียว ได้พูดถึงและได้เขียนหนังสือหรือรายละเอียดต่างๆ ของสมุนไพรย่านางที่เป็นสมุนไพรฤทธิ์เย็นที่ช่วยปรับสมดุลกับผู้ที่มีภาวะร้อนเกินให้อยู่ในภาวะสมดุล และยังช่วยลดการอักเสบของผิวหนัง ติดเชื้อ ฯลฯ
ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Tiliacora triandra  (Colebr.) Diels

ชื่อสามัญ :   Bamboo grass

วงศ์ :   Menispermaceae

ชื่ออื่น :  จ้อยนาง (เชียงใหม่)  เถาย่านาง เถาวัลย์เขียว (กลาง) ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)

ลักษณะ ทางพฤกษศาสตร์ : ไม้เถาเลื้อยพัน กิ่งอ่อนมีขนอ่อนปกคลุม เมื่อแก่แล้วผิวค่อนข้างเรียบ รากมีขนาดใหญ่ ใบเป็นใบเดี่ยว ออกติดกับลำต้นแบบสลับ รูปร่างใบคล้ายรูปไข่หรือรูปไข่ขอบขนานปลายใบเรียว ฐานใบมน ขนาดใบยาว 5 - 10 ซม. กว้าง 2 - 4 ซม. ขอบใบเรียบ ก้านใบยาว 1 ซม. ดอกออกตามซอกโคนก้านใบเป็นช่องยาว 2 - 5 ซม. ช่อหนึ่ง ๆ มีดอกขนาดเล็กสีเหลือง 3 - 5 ดอก ดอกแยกเพศอยู่คนละต้นไม่มีกลีบดอก ผลรูปร่างกลมรีขนาดเล็ก สีเขียว เมื่อแก่กลายเป็นสีเหลืองอมแดงและกลายเป็นสีดำ

สารสำคัญที่พบในสมุนไพรย่านาง :
isoquinolone alkaloid ได้แก่ tilacorine, tiacorinine, nortiliacorinine A, tiliacotinine 2 - N - Oxide, และ tiliandrine, tetraandrine, D - isochondrodendrine (isoberberine)

 

สรรพคุณของใบย่านางมีดังนี้ :
- มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระจำนวนมากจึงช่วยลดและชะลอการเกิดริ้วและความแก่ชราอย่างได้ผล
- ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านโรคในร่างกายให้แข็งแรง
- ช่วยเพิ่มความสดชื่นให้กับร่างกาย
- ช่วยฟื้นฟูเซลล์ต่างๆในร่างกาย
- ช่วยในการปรับสมดุลของร่างกาย
- เป็นสมุนไพรที่ช่วยในการลดความอ้วนได้อย่างเห็นผลและปลอดภัย
- ช่วยในการเผาผลาญไขมันและนำไปใช้เป็นพลังงาน
- ช่วยป้องกันและลดอัตราการเกิดโรคมะเร็งชนิดต่างๆ
- เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์เย็นเหมาะสำหรับผู้ที่เป็นมะเร็งอย่างมาก
- หากดื่มน้ำใบย่านางเป็นประจำ ก้อนมะเร็งจะฝ่อและเล็กลง
- ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจ
- ช่วยในการบำรุงรักษาตับ และไต
- ช่วยรักษาและบำบัดอาการอัมพฤกษ์
- ช่วยแก้อาการอ่อนล้า อ่อนเพลียของร่างกาย แม่นอนพักก็ไม่หาย
- ช่วยรักษาอาการเกร็ง ชัก หรือเป็นตะคริวบ่อยๆ
- ช่วยแก้อาการเจ็บเหมือนมีไฟช็อตหรือมีเข็มแทงหรือมีอาการร้อนเหมือนไฟ
- ช่วยป้องกันไม่ให้เส้นเลือดฝอยในร่างกายแตกใต้ผิวหนังได้ง่าย
- ช่วยรักษาอาการตกกระที่ผิวเป็นจ้ำๆสีน้ำตาลตามร่างกาย
- ช่วยรักษาเนื้องอก
- ช่วยรักษาอการวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม คลื่นไส้ อาเจียนได้
- ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ ไอจาม มีน้ำมูกและเสมหะ
- รากแห้งใช้ในการแก้ไข้ทุกชนิดและลดความร้อนในร่างกาย
- รากของย่านางสามารถแก้ไข้ได้ทุกชนิด ทั้ง ไข้พิษไข้หัด ไข้เหนือ ไข้ผิดสำแดง เป็นต้น
- เถาย่านางมีส่วนช่วยในการลดความร้อนและแก้พิษตานซาง
- มีส่วนช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อมาลาเรีย
- ช่วยรักษาอาการร้อนแต่ไม่มีเหงื่อ
- ช่วยรักษาอาการของโรคเบาหวานช่วยให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง
- มีส่วนช่วยช่วยอาการปวดตึง ปวดตามกล้ามเนื้อปวดชาบริเวณต่างๆ
- ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
- รากของย่านางช่วยแก้อาการเบื่อเมา
- ช่วยแก้อาการเหงือกอักเสบอย่างรุนแรงและเรื้อรัง
- ช่วยแก้อาการง่วงนอนหลังการรับประทานอาหาร
- ช่วยแก้อาการเลือดกำเดาไหล
- ช่วยในการบำรุงสายตาและรักษาโรคเกี่ยวกับตา เช่น ตาแดง ตาแห้ง ตามัว แสบตา ปวดตาตาลาย เป็นต้น
- ช่วยรักษาอาการปากคอแห้ง ริมฝีปากแตกหรือลอกเป็นขุย
- ช่วยแก้ปัญหาเรื่องเสมหะเหนียวข้น ขาวขุ่น มีสีเหลืองหรือเขียวหรืออาการเสมหะพันคอ
- ช่วยบำบัดอาการของโรคไซนัสอักเสบ
- ช่วยลดอาการนอนกรน
- ช่วยแก้อาการเจ็บปลายลิ้น
- ช่วยป้องกันและบำบัดรักษาโรคหัวใจ
- ช่วยป้องกันและรักษาโรคหอบหืด
- ช่วยรักษาโรคตับอักเสบ
- ช่วยรักษาอาการท้องเสียเพราะช่วยฆ่าเชื้อโรคที่เป็นต้นเหตุได้
- ช่วยบรรเทาอาการอาการปวดท้องอย่างเฉียบพลัน
- ช่วยแก้อาการท้องผูกลดอาการแสบท้อง
- ช่วยรักษาโรคกระเพาะอาหาร ลำไส้อักเสบ
- ช่วยลดอาการหดเกร็งตามลำไส้
- ช่วยรักษาอาการกรดไหลย้อน
- ช่วยรักษาไทรอยด์เป็นพิษ
- ช่วยรักษาโรคนิ่วในไต นิ่วในกระเพาะปัสสาวะนิ่วในถุงน้ำดี
- ช่วยรักษาอาการปัสสาวะแสบขัด ออกร้อนในทางเดินปัสสาวะ
- ช่วยแก้อาการปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะบ่อย หรือมีอาการปัสสาวะออกมาเป็นเลือด
- ช่วยรักษาอาการมดลูกโต อาการปวดมดลูก ตกเลือดได้
- ช่วยบำบัดรักษาโรคต่อมลูกหมากโต
- ช่วยป้องกันโรคไส้เลื่อน
- ช่วยในการรักษาโรคเริม งูสวัด
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคริดสีดวงทวาร
- ช่วยรักษาอาการตกขาว
- ช่วยป้องกันการเกิดโรคเกาต์
- ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- ช่วยรักษาอาการผิวหนังมีความผิดปกติคล้ายรอยไหม้
- น้ำย่านางเมื่อนำมาผสมกับดินสอพองหรือปูนเคี้ยวหมากผสมจนเหลว สามารถนำมาทา สิว ฝ้าตุ่มคัน ตุ่มใส ผื่นคัน พอกฝีหนองได้อีกด้วย
- ช่วยป้องกันและรักษาอาการส้นเท้าแตก เจ็บส้นเท้า
- ช่วยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าผุ โดยรักษาอาการเล็บมือเล็บเท้าขวางสั้น ผุ ฉีกง่ายหรือในเล็บมีสีน้ำตาลดำคล้ำ อาการอักเสบที่โคนเล็บ
- สำหรับประโยชน์ของใบย่านางด้านอื่นๆ เช่น การนำแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ยกตัวอย่างใบย่านางแคปซูลสบู่ใบย่านางแชมพูใบย่านางเครื่องดื่มสมุนไพรเป็นต้น
- แชมพูสระผมจากใบย่านาง ช่วยให้ผมดกำ ชะลอการเกิดผมหงอก

วิธีที่นุชารับประทานย่านาง :
ส่วนมากนุชาจะนำใบย่านางมาปั่นรวมกับผักอื่นๆ เพื่อให้หลากหลายเช่น ปั่นรวมกับแอปเปิ้ล บีทรูท น้ำผึ้ง มะนาว จะช่วยดีท็อกไปด้วยนะครับ ช่วงรักษาสิวที่เป็นหนักๆ จะทานก่อนมื้ออาหาร เวลา เช้าก่อนไปเรียน และเย็นหลังเลิกเรียนครีบ

ผลที่ได้รับจากการทานย่านาง :

จากที่ได้ทดลองดื่มติดต่อกันมาประมาณ 4 เดือน ผลปรากกฏว่าภาวะร้อนเกินไม่มีเลย ระบบขับถ่ายดีมากผิวพรรณสดใส สิวอักเสบหายไปกว่า 50% และลดการอุดตันด้วยครับ แต่ทั้งนี้นุชาเตือนเลยว่าไม่ควรทานนานเกินไปเพราะจะทำให้เกิดภาวะเย็นเกินได้จะทำให้เกิดผลเสียต่อสุขภาพได้เช่นกัน แนะนำให้ทานแล้วสิวดีขึ้นแล้วเว้นระยะห่างในการทาน หรือเลือกทานตามฤดูการจะดีที่สุดครับ


ทานแบบแคปซูลหรือแบบสกัดได้ผลรึเปล่า :
หลายๆ คนเข้ามาถามนุชานะครับว่า ทานแบบแึคปซูลและย่านางสกัดเย็น (แบบน้ำ) จะได้ผลเหมือนกันไหม นุชาให้คำตอบดังนี้นะครับ
  • แบบแคปซูล ได้รับสารอาหารครับ แต่อาจจะไม่ได้วิตามินครบถ้วนเพราะระหว่างกระบวนการผลิตอาจจะทำให้เกิดการสูญเสียวิตามินไปนะครับ แต่คุณสมบัติทางยายังคงเดิม แต่แนะนำทานแบบอบเย็นจะดีกว่าและเลือกเจ้าที่น่าเชื่อถือได้ เพราะไม่อย่างนั้นคุณอาจจะทานสารสเตียรอยเข้าไปก็ได้
  • แบบน้ำสกัดเย็น คุณจะไม่ได้รับคลอราฟิวเข้าไปนะครับเพราะกระกระบวนการสกัดจะได้รับแต่วิตามินและคุณค่าทางยาเท่านั้น และจะไม่ได้รับไฟเบอร์แต่การดื่มแบบสกัดเย็น จะทำให้ได้ัรับการดูดซึมที่ดีกว่ามากๆ เหมาะกับผู้ที่อยู่บ้านหรือ นักศึกษาืีที่ไม่มีเวลาในการปั่น แต่สามารถผสมตามอัตราส่วนไปดื่มที่ทำงาน หรือ มหาวิทยาัลัยครับ
สรุปรีวิวจากการทานย่านาง :
  • ช่วยรักษาสิวอักเสบ
  • ช่วยให้ผิวพรรณสดใส
  • ช่วยทำให้ระบบขับถ่ายดีขึ้น
.............................................


ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.chatchawan.net/wp-content/uploads/2013/09/turmeric.jpg


2. ขมิ้นชัน

ต้องเล่าเรื่องราวของตัวเองซักหน่อย ว่าทำไมถึงได้มาทานขมิ้นชัน ความจริงแล้วนุชาไม่ได้ต้องการทานขมิ้นชันเพื่อรักษาสิวหรอกนะครับ แต่เพราะว่านุชาทานเพื่อรักษาภาวะกรดไหลย้อนที่ตัวเองเป็นมาตั้งแต่เด็ก อาการค่อยข้างหนักคือ เมื่อตื่นนอนมาตอนเช้าจะมีอาการอยากอาจาพออาเจียนแล้วจะมีน้ำกรดออกมา ซึ่งประกอบกับตัวเองเป็นโรคกระเพราะด้วยจึงสรรค์หาสมุนไพรหรือยาต่างๆ ที่เขาว่าดีและทานได้ผลมาทาน แต่นุชาต้องมาจบที่ขมิ้นชัน ขมิ้นชันสามารถรักษาอาการกรดไหลย้อนและโรคกระเพราะอาการที่เป็นอยู่ให้หายขาดไปได้เลยครับ


ขมิ้นชันกับการลด cholesterol มีการทดลองในหนูขาวพบว่าสาร curcumin จะเพิ่มระดับของ
cholesterol-7-alpha-hydroxylase ซึ่งเป็นเอนไซม์ซึ่งกำหนดอัตราการสร้างน้ำดี ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า
curcumin กระตุ้นการเปลี่ยน cholesterol เป็นน้ำดี ซึ่งเป็นกลไกหลักของการขับถ่าย cholesterol ออกจากร่างกาย

ได้มีการศึกษาซึ่งทำในอาสาสมัครปกติจำนวน 33 คน โดยให้สารสกัดขมิ้นชัน 1 กรัม วันละ 2 ครั้ง
แล้ววัดปริมาณ total cholesterol, triglyceride, high-density lipoprotein cholesterol (HDL-C)
และ low-density lipoprotein cholesterol (LDL-C) ก่อนการทดลองและเมื่อวันที่ 15 และ 60 หลังจาก ที่ได้รับประทานสารสกัดขมิ้นชัน พบว่าอาสาสมัครทั้งหมดมีค่า total cholesterol ลดลง 9.6-12.5 % ค่า  triglyceride ลดลง 16.2-34.3 % และ LDL-C ลดลง 3.5-17 % ภายใน 15 วัน ส่วนค่า HDL-C จะเพิ่ม ขึ้นเล็กน้อย (5.5-8.5 %)7

ารที่ขมิ้นชันสามารถลดไขมันในเลือดและลดการเกิด lipid peroxidation จะช่วยป้องกันโรคที่เกิด
ขึ้นกับหลอดเลือดหัวใจอุดกั้น (coronary heart disease) ได้
ขมิ้นชันกับการป้องกันสารพิษในร่างกาย ในผู้ที่สูบบุหรี่ ขมิ้นชันจะช่วยลดอาการข้างเคียงลง
ได้บ้างมีการทดลองในคนที่สูบบุหรี่อย่างหนัก จำนวน 16 คน เมื่อได้รับ curcumin 1.5 กรัม / วัน เป็นเวลานาน 30 วัน จะช่วยลดการขับถ่ายทางปัสสาวะของสารก่อการ กลายพันธุ์ที่เกิดจากบุหรี่ ซึ่งชี้ให้เห็นว่าร่างกายมีการจัดการกับสารที่อาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ได้ดีขึ้น

มีผู้ศึกษาในหนูถึงผลของ curcumin ต่อตับที่ได้รับเอธิลแอลกอฮอล์ พบว่า curcumin จะลดการ
เพิ่มของเอนไซม์ aspartate transaminase และ alkaline phosphatase
ซึ่งเกิดจากการได้รับเอธิล
แอลกอฮอล์อย่างมีนัยสำคัญในหนูที่ได้รับเอธิลแอลกอฮอล์จะมีการเพิ่มระดับ cholesterol, phospholipidและกรดไขมันในซีรัม แต่หนูที่ได้รับ curcumin ร่วมด้วย ค่าดังกล่าวจะลดลง9
ในผู้ป่วยมะเร็งและกำลังได้รับการบำบัดทางเคมี ขมิ้นชันจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการรักษาและ
ลดอาการข้างเคียงจากการใช้ยา ในหนูพบว่าการใช้สารสกัดขมิ้นชันร่วมกับยาที่ใช้รักษามะเร็งจะช่วยยืดอายุหนูได้

ขมิ้นชันกับการรักษาอาการอักเสบ ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการรักษาอาการอักเสบและทำให้แผลหาย
เร็วในการทดลองแบบ double-blind controlled ที่ทำในคนไข้ผ่าตัดกลุ่มหนึ่ง มีการเปรียบเทียบกับคนไข้กลุ่มที่ได้รับ curcumin (400 มิลลิกรัม) กลุ่มที่ได้รับยาหลอกและกลุ่มที่ได้รับ phenylbutazone (100 มิลลิกรัม) 3 ครั้งต่อวัน ติดต่อกัน 5 วัน หลังจากผ่าตัดพบว่า curcumin ให้ผลดีในการลดอาการอักเสบหลังผ่าตัดได้ดีเทียบเท่ากับ phenylbutazone  ในผู้ป่วยที่เป็นไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ จำนวน 49 คน เมื่อให้ curcumin 1.2 กรัม ต่อวัน เป็นเวลา 5 ถึง 6 สัปดาห์ พบว่าคนไข้มีการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เช่น อาการข้อยึดในตอนเช้า (morning stiff-ness) จะลดลงซึ่งผลการรักษาเทียบเท่ากับกลุ่มที่ได้ phenylbutazone

ขมิ้นชันกับฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อรา สารสกัดขมิ้นชันด้วยแอลกอฮอล์มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของ
โรคผิวหนังและสารสกัดด้วย chloroform ก็ได้ผลเช่นเดียวกัน ซึ่งมีผู้พบฤทธิ์ของผงขมิ้นชันและน้ำมันหอมระเหยในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราโดยเฉพาะเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคกลาก Microsporum Trichophyton, Epidermophyton3

ขมิ้นชันกับการรักษาแผล (wound healing)
มีรายงานถึงคุณสมบัติในการรักษาแผลของขมิ้นชัน เมื่อทาผงขมิ้นชันบนแผลติดเชื้อและแผลไม่ติด
เชื้อในหนูขาวและในกระต่าย พบว่าขมิ้นชันจะเร่งการหายของแผลทั้ง 2 แบบให้เร็วขึ้น 23-24 % ซึ่งให้ผลดีพอ ๆ กับ scarlet red ในขณะที่ผง sulfanilamide สารละลาย copper sulfate (0.1 %) และสารละลายsilver nitrate (0.1 %) ให้ผลดีน้อยกว่า4

ขมิ้นชันกับการรักษาผู้ติดเชื้อ HIV ในผู้ติดเชื้อ HIV เซลล์ของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายจะ
ถูกทำลายโดยไวรัส มีการทดลองซึ่งพบว่า curcumin สามารถยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ integrase ในเชื้อ HIV type I ดังนั้นจึงช่วยป้องกันไวรัสดังกล่าวเข้ามาอาศัยอยู่ในเซลล์ CD4 หรือ CD8 ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย11 มีการศึกษาในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV 18 คน10 โดยให้ curcumin 2 กรัม/วัน เป็นเวลาประมาณ 20 สัปดาห์ พบว่ามีการเพิ่มของเซลล์ CD4 และ CD8 อย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ดังนั้น curcumin จึงมีประโยชน์ต่อผู้ติดเชื้อ HIV โดยอาจให้ร่วมกับยาฆ่าเชื้อHIV ตัวอื่นเพื่อลดความเป็นพิษของยานั้น ๆ

ความปลอดภัยของขมิ้นชัน12 มีการศึกษาถึงความเป็นพิษของขมิ้นชันพบว่าเมื่อให้ผงขมิ้นชัน
แก่หนูถีบจักรทางปากขนาด 10 กรัม/น้ำหนักตัวหนู 1 กิโลกรัม ไม่พบอาการผิดปกติใด ๆ ผลการทดสอบพิษ เรื้อรังของผงขมิ้นชันในหนูขาวโดยมีกลุ่มควบคุมและกลุ่มที่ได้รับผงขมิ้นชันขนาด 0.03, 2.5 และ 5.0 กรัม/ กิโลกรัม/วัน เป็นเวลานาน 6 เดือน ไม่พบว่ามีความผิดปกติในระบบใด ๆ ของสัตว์ทดลองนอกจากพบว่าหนูเพศผู้กลุ่มที่ได้รับขมิ้นชัน 2.5 และ 5.0 กรัม/กิโลกรัม/วัน กินอาหารได้น้อยกว่ากลุ่มควบคุม 8 และ 12 % ตามลำดับ
  • การเกิดปฏิกิริยากับยาอื่น เมื่อใช้ขมิ้นชันในขนาดสูง ๆ มีข้อควรพิจารณาดังนี้ ขมิ้นชันอาจเพิ่มฤทธิ์ต่อเกล็ดเลือดของยาประเภทต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด (anticoagulant)และยาแก้ปวดประเภทที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้ร่วมกัน
  • ขมิ้นชันอาจลดฤทธิ์ของยาประเภทกดภูมิคุ้มกัน (immunosuppressant) ดังนั้นจึงควรระวัง ถ้าต้องใช้ร่วมกัน
  • ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตรเพราะยังไม่มีข้อมูลการใช้ในคนกลุ่มนี้ ขมิ้นชันถูกห้ามใช้ในผู้ป่วยที่มีอาการเลือดไหล และการอุดตันของท่อน้ำดี และต้องระวังถ้าใช้ในผู้ป่วยที่มีแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้
จากรายงานทั้งหมดข้างต้นจะเห็นว่าขมิ้นชันมีประโยชน์ต่าง ๆ มากมาย ขมิ้นชันในขนาดที่ใช้ตาม
บัญชียาหลักแห่งชาติ (2-4 แคปซูล วันละ 4 เวลา หลังอาหารและก่อนนอน) นอกจากแก้ท้องอืดท้องเฟ้อแล้ว ยังมีผลดีต่อร่างกาย โดยเฉพาะเป็น antioxidant สำหรับการใช้ curcuminoid ซึ่งเป็นสารสกัด
เข้มข้นของขมิ้นชัน
เนื่องจากมีขนาดการใช้ที่แตกต่างกันสำหรับการรักษาอาการต่าง ๆ ควรมีความระมัดระวังในการใช้ โดยเฉพาะในขนาดสูง ๆ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ ขณะนี้สถาบันวิจัยและพัฒนา องค์การเภสัชกรรม ได้ทดลองสกัด curcuminoid และอยู่ในระหว่างการทดลองใช้ทางคลินิกในผู้ป่วยที่เป็นโรคธาลัสซีเมียประเภท b-thalassemia/Hb E disease โดยคณะผู้วิจัยที่ คณะแพทยศาสตร์ศิริราช
พยาบาล

วิธีที่นุชารับประทานขมิ้นชัน :
นุชาเลือกทานแบบแคปซูลนะครับ ปริมาณแคปซูลละ 500 mg. ซึ่งจะเลือกทานของยี่ห้อ "ปฐมอโศก" เป็นยี่ห้อที่ไว้วางใจและราคาย่อมเยาว์ดีครับ ซึ่งเริ่มต้นนุชาจะทาน ครั้งละ 2 แคปซูล ก่อนอาหารทุกมื้อ เป็นเวลา 2สัปดาห์ และหลังจากนั้นจะลดปริมาณลงเป็นครั้งละ 1 แคปซูลนะครับ ช่วงแรกที่ทานจะรู้สึกปวดถ่ายตลอดทั้งวันและกลิ่นฉี่และอุนจิจะฉุยมากๆ แต่เขาช่วยระบายได้ดีมาก

ผลที่ได้รับจากการทานขมิ้นชัน :
 
หลังจากได้รับประทานขมิ้นชันตลอดระยะเวลา 3 เดือน ประกอบกับการรักษาสิวและปรับการทานอาหารตามแนวทางการรักษาสิวธรรมชาติบำบัด อาการกรดไหลย้อนที่ตัวเองเป็นอยู่และโรคกระเพราะได้หายไปเลยนะครับ และไม่กลับมาเป็นอีกเลย ณ ตอนนั้นดีใจมากๆ อาจจะมีส่วนมากจากที่ปรับการทานอาหารด้วยจึงทำให้ภาวะกรดไหลย้อนหายไปโดยเร็ว 

ด้านการรักษาสิวนั้น นุชารู้สึกได้ว่าเขาได้ช่วยลดอาการอักเสบของผิวหนังเพราะตอนนั้นนุชาเป็นสิวหนักมากๆ แต่ไม่ได้ทานยาแก้อักเสบเลย แต่สอวหนองที่กำลังอักเสบได้หายไปเร็วโดยใช้ระยะเวลาไม่เกิน 3 วันครับ



สำหรับใครที่มีปัญหาด้านระบบขับถ่าย ถ่ายยากธาตุหนักมากๆ แนะนำลองซื้อขมิ้นชันมาทานดูก่อนนะครับ เพราะเขาจะช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ใหญ่ให้บีบตัวเพื่อกำจัดของเสียออกมา ซึ่งจะทำให้ถ่ายสุดแน่นอน แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาในการทานนิดนึงเพราะขมิ้นชันไม่ได้เป็นยาระบายที่สามารบีบตัวของลำไส้ได้อย่างรุนแรงเหมือนพวกยาระบายทั่วไป สำหรับคนธาตุหนักมากๆ แนะนำให้ทานก่อนนอนครั้งละ 3-5 แคปซูล ตามด้วยน้ำอุ่น หรือ น้ำอุณหภูิมิปกติ ตื่นเช้ามาอาจจะวิ่งเข้าห้องน้ำไม่ทันก็ได้ครับ ต้องลอง

สำหรับอาการสำหรับภูมิแพ้ ตอนแรกนุชาคิดว่าตัวเองเป็นนะครับ ที่มีอาการไอตลอดเวลา แต่ไม่ใช่่ แต่เป็นเพราะร่างกายของตัวเองมีภาวะเ็ย็นเกินจึงไม่ทราบผลที่แน่ชัดที่ทานสำหรับผู้ที่ทานเพื่อรักษาอาหารนะครับ ไว้ถ้ามีข้อมูลจากเพื่อนๆ พี่ๆ ที่รักษาสิวและเป็นภูิมิแพ้ืทานแล้วอาการดีขึ้นจะนำมาอัพเดทเพิ่มเติมนะครับ

คำแนะนำจากประสบการณ์การทานขมิ้นชันนะครับ
ไม่แนะนำให้ทานติดต่อกันทุกวัน หรือนานๆ เพราะนุชารู้สึกว่าทานติดต่อกันนานว่า 4 เืดือน รู้สึกว่าผิวของตัวเองเหลืองครับ นุชาจึงตัดสินใจหยุดทานไปนานเลย และค่อยๆ ปรับมาทานนานๆ ครั้งช่วงที่รู้วึกว่าตัวเองนอนดึกหรือท้องอืดแทนครับ


สรุปรีวิวจากการทานขมิ้นชัน :
  • ช่วยรักษากรดไหลย้อน รักษาโรคกระเพราะหายขาด (แต่ต้องปรับการทานอาหารการนอน)
  • ลดการอักเสบของสิว โดยไม่ต้องทานยาแก้แพ้ (สำหรับผู้ที่รักษาสิวโดยธรรมชาติบำบัด)
  • ช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้ให้ดีขึ้นขับถ่ายเป็นปกติ
.................................


ขอบคุณรูปภาพจาก http://www.karn.tv/math/169
3.ดอกอัญชัน

นุชาเริ่มมาศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับดอกอัญชันเมื่อต้นปี 2556 นี่เองนะครับ เพราะพี่โจ๊กได้ส่งดอกอัญชันอบแห้งมาให้ทดลองทาน ซึ่งเมื่อก่อนนุชาไม่ได้สนใจอะไรเลย จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้นุชาสนใจการทานน้ำต้มจากดอกอัญชันว่ามีประโยชน์มากมายเหมาะกับผู้ที่รักษาิสิวประเภทมีสิวอักเสบ หรือผู้ป่วยที่กำลังรับการพักฟื้นเขาจะช่วยลดการอักเสบและช่วยกำจัดเชื้อโรคที่จะมาทำร้ายร่างกายเรา และเพิ่มปริมาณของเม็ดเลือดขาวทำให้ต่อสู้กับเชื้อโรคได้ดีมากๆ ยิ่งขึ้น

ชื่อวิทยาศาสตร์ :   Clitoria ternatea L.

ชื่อสามัญ :   Blue Pea, Butterfly Pea

วงศ์ :   LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ชื่ออื่น :  แดงชัน (เชียงใหม่); อัญชัน (ภาคกลาง); เอื้องชัน (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้ล้มลุกเลื้อยพัน ยาว 1-5 เมตร ใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับ ใบย่อย 3-9 ใบ รูปรีแกมขอบขนานหรือรูปรีแกมไข่กลับ กว้าง 1-3 ซม. ยาว 2-5 ซม. ดอกเดี่ยว ออกที่ซอกใบ กลีบดอกรูปดอกถั่ว สีน้ำเงิน ม่วงหรือขาว ตรงกลางกลีบสีเหลืองหม่นขอบสีขาว ผลเป็นฝัก รูปดาบ โค้งเล็กน้อย ปลายเป็นจะงอย แตกเป็น 2 ฝา เมล็ดรูปไต จำนวน 6-10 เมล็ด
ส่วนที่ใช้ :

กลีบดอกสดสีน้ำเงิน จากต้นอัญชันดอกสีน้ำเงิน

รากของต้นอัญชันดอกขาว

สรรพคุณและวิธีใช้ :


ดอกสีน้ำเงิน ใช้เป็นสีแต่งอาหาร ขนม
ใช้กลีบดอกสด ตำเติมน้ำเล็กน้อย กรองด้วยผ้าขาวบาง คั้นเอาน้ำออก จะได้น้ำสีน้ำเงิน (Anthocyanin) ใช้เป็น indicator แทน lithmus
ถ้าเติมน้ำมะนาวลงไปเล็กน้อย จะกลายเป็นสีม่วง ใช้แต่งสีอาหารตามต้องการ มักนิยมใช้แต่งสีน้ำเงินของขนมเรไร ขนมน้ำดอกไม้ ขนมขี้หนู

รากต้นอัญชันดอกสีขาว
ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ยาระบาย

สารเคมี :  anthocyanin

สาร Anthocyanin (แอนโธไซยานิน) เป็นสารที่มีสีตั้งแต่สีน้ำเงินเข้มในสภาพวะเป็นด่าง (pH>7) มีสีม่วงเมื่อเป็นกลาง (pH 7) และจะเปลี่ยนเป็นสีแดงถึงส้มได้ในสภาวะเป็นกรด (pH< 7) เป็นสารสีที่พบได้ทั่วไปในดอกไม้ ผลไม้บางชนิด ใบหรือลำต้นของพืชบางชนิดที่มีสีจัด ในปริมาณเพียงน้อยนิดก็สามารถแสดงสีได้ในความเข้มสูง มนุษย์ในบางพื้นที่รู้จักใช้สารตัวนี้มาเป็นเวลานานแล้วในกิจกรรมต่างๆ เช่น ไทยใช้สีจากดอกอัญชันทำขนม จีนใช้สีของเปลือกไม้และใบไม้บางชนิดในการย้อมผ้าให้มีสีต่างๆ ยุโรปใช้ผลไม้ป่า (Wild Berry) ในการทำเครื่องสำอางและทำขนม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะเป็นอนุพันธ์หนึ่งของ Anthocyanin ที่พบได้ในธรรมชาติซึ่งให้สีน้ำเงิน สีม่วง และสีแดงบางชนิด เกิดจากสารกลุ่มแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) เป็นโมเลกุลให้สีที่มีส่วนประกอบสองส่วนคือ แอนโทไซยานิดิน (Anthocyanidin) และน้ำตาล

แอนโธไซยานิน มีหน้าที่ปกป้องผักและผลไม้จากการทำลายของรังสีอัลตราไวโอเลต มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ  การวิจัยพบว่าสารกลุ่มแอนโธไซยานินมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นของไขมันแอลดีแอล (LDL) และยังทำให้เซลล์บุผนังหลอดเลือดมีความอ่อนนิ่ม การกินผักและผลไม้ที่มีสีน้ำเงินและสีม่วงจึงสามารถชะลอการเกิดโรคไขมันอุดตัน ในหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัวได้  ในประเทศไทยมีการใช้น้ำดอกอัญชันช่วยปลูกผมปลูกคิ้ว เชื่อว่าน้ำคั้นจากดอกอัญชันทำให้ผมดกดำได้สารแอนโธไซยานินในดอกอัญชันเพิ่มความสามารถในการมองเห็นหรือชะลอความเสื่อมของดวงตา เนื่องจากสารดังกล่าวเพิ่มความสามารถในการไหลเวียนเลือดในหลอดเลือดเล็กๆ ส่วนปลาย ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงรากผมและดวงตาได้ดีขึ้นนั่นเอง ดอกอัญชันสามารถกินสดแก้ลมน้ำพริกหรือต้มน้ำดื่มก็ได้

แอนโธไซยานินสีม่วงจากพืชตระกูลบลูเบอร์รี่ ถูกใช้เพื่อเสริมสมรรถภาพการมองเห็นและลดปัญหาที่เกิดกับระบบหมุนเวียนของเลือด ในลักษณะเดียวกับการใช้น้ำคั้นอัญชันมาเป็นเวลานาน มีการใช้ในผู้ป่วยเบาหวานและแผลในกระเพาะอาหาร จึงมีคุณสมบัติต้านการเกิดโรคมะเร็ง ทำให้เซลล์มะเร็งเม็ดเลือดขาวตายและต้านการเกิดสารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง

พืชที่มีแอนโธไซยานินมักพบสารกลุ่มโพลีฟีนอลด้วย สารกลุ่มนี้มีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระและช่วยชะลอสภาวะเสื่อมของเซลล์

อาหารที่มีสีน้ำเงินและสีม่วง ได้แก่ กะหล่ำปลีม่วง มันสีม่วง องุ่นแดง ชมพู่มะเหมี่ยว ชมพู่แดงอื่นๆ ลูกหว้า ลูกไหน ลูกพรุน ลูกเกด ข้าวแดง ข้าวนิล ข้าวเหนียวดำ ถั่วแดงและถั่วดำ มะเขือม่วง หอมแดง หอมหัวใหญ่สีม่วง บลูเบอร์รี่ น้ำดอกอัญชัน น้ำว่านกาบหอย มันต้มสีม่วง และเผือก


วิธีที่นุชารับประทานดอกอัญชัน :
นุชาใช้ดอกอัญชันแห้งที่ซื้อมาจากสันติอโศก ประมาณ 10 ดอก ต้มกับน้ำสะอาดในกาน้ำร้อนปริมาณ 500 ml. จนเดือดแล้วกรองเอาน้ำดื่ม
ผลที่ได้รับจากการทานดอกอัญชัน : 
หลังจากได้รับประทานน้ำดอกอัญชัน ติดต่อกันนาน 3 สัปดาห์ ณ ตอนนั้นที่ทาน เป้นช่วงที่สิวแห้งและหายเกือบหมดแล้ว แต่สังเกตุได้ว่าชวงที่ทานทำให้สิวไม่อักเสบเพิ่ม และส่วนที่อักเสบยุบตัวและแห้งลงไปเร็วมากๆ นุชาคิดว่า หากทานน้ำต้มดอกอัญชันผสมน้ำมะนาวในตอนเช้าๆ อาจะเป็นทางเลือกที่ดีในการล้างสารพิษและฆ่าเชื้อโรคได้ดีครับ ลองทานดูกันนะครับ


สรุปรีวิวจากการทานขมิ้นชัน :
  • สิวแห้งลง
  • สิวไม่ขึ้นเพิ่ม
.................................

ข้อมูลทั้งหมดเกิดจากประสบการณ์ในการทดลองทานโดยนุชาเอง ไม่มีกลุ่มอ้างอิงที่ทานและทดลองกรณีคล้ายๆ กับนุชา แต่สมุนไพรบางตัวที่ได้นำเสนอไป ล้วนแต่ผ่านการวิจัยว่าสารต่างๆ ที่อยู่ในนั้นสามารถต้านการอักเสบ และลดการติดเชื้อในร่างกายได้

นุชาหวังว่าบทความนี้คงจะเป็นประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจแนวทางการรักษาสิวตามแนวธรรมชาติ ขอบคุณครับ


แหล่งข้อมูลอ้างอิงเกี่ยวกับสมุนไพร

เอกสารอ้างอิงข้อมูลเกี่ยวกับขมิ้นชัน 
  • Srinivasan K. and Sambaiah K. The effect of spices on cholesterol 7 alpha-hydroxylase activity and on serum and hepatic cholesterol levels in rat. Int. J.
  • Vitam. Nutr. Res. 1991; 61(4): 364-9.Deshpande U.R., et al. Effect of turmeric extract on lipid profile in humansubjects. Medical Science Research. 1997; 25(10): 695-698.-
  • Polase K., et al. Effect of turmeric on urinary mutagens in smokers.Mutagenesis. 1992; 7(2): 107-9.
  • Rajakrishnan V., et al. Protective role of curcumin in ethanol toxicity. Phy-totherapy Research. 1998; 12(1): 55-56.
  • Muhammed M., et al. Turmeric and the Healing Curcuminoids. Connec-ticut: Keats Publishing, Inc, 1996; 22-23, 28-31.
  • Mazumder A., et al. Curcumin analogs with attered potencies against HIV-1integrase as probes for biochemical mechanisms of drug action. J. Med. Chem.1997; 40(1): 3057-63.
  • Sitlisomwong N., et al. Acute and subchronic toxicity of turmeric. Bull. Dept.Med. Sci. 1990; 32 (3): 101-111.
    XOXO
    Happy Nucha


    ติดตามความเคลื่อนไหวได้ีพูดคุยกันได้ที่
    Line ID : Happy Nucha
    E-mail : happynucha.shop@gmail.com
    ติดตามบล็อกสุขภาพ : http://happyacne2you.blogspot.com