Sunday, September 14, 2014

เซบเดิร์ม (seb drem) หายได้หากรักษาให้ถูกวิธี



ภาพตัวอย่างอาการเซบเดิร์มขอบคุณภาพจาก : hardinmd.lib.uiowa.edu

ช่วงหลังมีหลายคนเข้ามาปรึกษาสอบถาม นุชาเรื่องการรักษาสิว และรวมไปถึงปัญหาทางผิวหนังอย่าง เซบเดิร์ม ด้วยครับ ซึ่งหลายคนที่เป็นสิว หรือมีปัญหาทางผิวหนัง อาจจะเคยได้ยินมาบ้างแล้วว่าอาการเป็นอย่างไร แต่สำหรับใครที่ยังไม่ทราบว่า อาการของโรคเซบเดิร์มเป็นอย่างไร นุชาได้รวบรวมข้อมูลมาเพื่อให้หลายคน ตรวจดูผิวหนังของตัวเองได้เลยครับ


เซบเดิร์ม (seb drem)  หากพูดกันให้เข้าใจง่ายๆ ให้เห็นภาพเลยก็คือ รังแคบนผิวหน้าครับ ซึ่งผิวหนังเกิดความผิดปกติ มีอาการแสบ คัน แดง และเกิดขุยได้ทั่วทุกบริเวณใบหน้า และตำแหน่งอื่นๆ ที่มีต่อมไขมันจำนวนมาก เช่น รูหู หนังศรีษะ หน้าอก รักแร้ รวมไปถึงบริเวณใบหน้า ซึ่งระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลครับ


ซึ่งส่วนมากจะเกิดเหมือนดังภาพ ผู้ที่เป็นจะมีลักษณะผิวแดง ลอกคัน คล้ายรังแคบนหนังศรีษะ แต่มาปรากฏที่ผิวหน้าครับ ซึ่งวิธีการรักษาของเซบเดิร์มนั้น จะแตกต่างกับการรักษาสิวครับ ซึ่งการรักษาส่วนมากหมอจะจ่ายยาในรูปของสเตียรอย ซึ่งในความเห็นของนุชาแล้ว เป็นการรักษาที่ปลายเหตุเอามากๆ ซึ่งสาเหตุหลักแล้ว เซบเดิร์ม จะเกิดจากความไม่สมดุลของสุขภาพ การขาดวิตามิน และ การใช้สารเคมีรุนแรงกันผิวหน้า และความผิดปกติของฮอร์โมนภายในร่างกาย

ซึ่งหากจจะรักษาอาการเซบเดิร์มให้หายขาดต้องเริ่มดูแลสุขภาพจากภายในให้ดีก่อน ดูแลเรื่องอาหารการกิน การพักผ่อน การนอนหลับ อารมณ์ และ การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผิวครับ 

การรักษาโรคเซบเดิร์มที่นุชาแนะนำให้หลายคนที่เข้ามาปรึกษา และได้ผลดีมีผลิตภัณฑ์ที่แนะนำดังนี้นะครับ

1. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ล้างหน้าที่อ่อนโยน ไม่ทำร้ายความสมดุลของผิวหนัง ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ เช่น ฟิสิโอเจล เซตาฟิว เป็นต้น

2. งดการพอกหน้าด้วยมาร์ค โคลนทุกชนิด แต่อาจจะใช้น้ำผึ้งพอกได้บ้าง

3. ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวและลดการลอก แสบคันของผิวหนัง ใช้ทดแทนการใช้สารสเตียรอยได้แก่ อีซาร่าครีม ฟิสิโอเจลเอไอ ครับ

4. งดการรบกวนผิวหน้าด้วยการทำเลเซอร์ หรือ การรักษาที่รบกวนผิวหน้า หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหอม AHA BHA เมนทอล การบูน พิมเสน แอลกอฮอร์ ครับ

5. นอนไม่เกิน 5 ทุ่ม

6. ทานผักผลไม้ทุกวัน และทานอาหารที่มีกากใยมากๆ

7. ห้ามท้องผูกต้องขับถ่ายทุกวันครับ

8. ทานอาหารให้ครบทุกมื้อ และให้ครบ 5 หมู่ครับ

9. งดการรบกวนผิวหน้า ด้วยการใช้ครีมบำรุงหลายๆ ตัว พอก ลอกขัด ทุกกรณี การทาครีมหลายตัวไม่ได้ช่วยให้อาการดีขึ้นเลยครับ


แนะนำการทานน้ำผักปั่นเพื่อปรับสมดุลให้กับร่างกายที่นี่นะครับ http://happyacne2you.blogspot.com/2013/08/blog-post.html


ข้อมูลเซบเดิร์ม (seb drem) จากสถาบันผิวหนังครับ 

โรค Seborrheic Dermatitis (เซ็บเดิร์ม) ในภาษาไทยยังไม่มีบัญญัติชื่อโรคนี้โดยเฉพาะ แต่อาจจะมีชื่อในภาษาไทย เช่น โรคต่อมน้ำมันอักเสบ, โรคแพ้เหงื่อ แพ้น้ำมัน, โรครังแคที่ใบหน้า สำหรับโรครังแคบนใบหน้าจัดอยู่ในกลุ่มโรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง ซึ่งเกิดจากสาเหตุจากภายในร่างกาย โดยที่มีปัจจัยพันธุกรรมเป็นหลัก มีการกระตุ้นจากปัจจัยภายนอก เกิดได้ทุกช่วงอายุ โดยเฉพาะวัยเจริญพันธุ์


ความแตกต่างจากโรคผิวหนังอื่นๆ                                                              
            โรคเซ็บเดิร์มจะแตกต่างจากโรคผิวหนังอื่นๆ เพราะไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดในการเกิดโรค แต่มีการศึกษาการเกิดโรคจากหลายทฤษฏี เช่น                                                
            - เกิดจากน้ำมันที่ผิวของคนเรา ซึ่งร่างกายผลิตขึ้นเองตามธรรมชาติ เมื่อผลิตขึ้นมาแล้ว ผิวหนังของเราเกิดการระคายเคืองขึ้นเอง พบได้ในบริเวณที่มีต่อมน้ำมันมาก เช่น บริเวณหนังศีรษะ, บริเวณคิ้ว, ข้างจมูก, แก้ม, รักแร้, สะดือ ฯลฯ บริเวณที่มีต่อมน้ำมันมากจึงพบโรคได้ง่าย
          - การเป็นภูมิแพ้ต่อเชื้อเกลื้อน เชื้อรา หากผู้ป่วยมีภูมิแพ้ต่อเชื้อเหล่านี้ อาจทำให้เกิดโรคได้ แต่ไม่ได้หมายถึงจะเป็นเชื้อเกลื้อน


อาการ
            -มีผื่นในบริเวณที่มีต่อมน้ำมันมาก ในระยะรุนแรงผื่นอาจขยายตัวเป็นบริเวณกว้าง เพราะต่อมน้ำมันมีอยู่ทั่วร่างกาย ในผู้ที่มีอาการรุนแรงอาจจะแยกอาการได้ยากจากโรคผิวหนังอื่นๆ  
            - มีการอักเสบของผิวหนัง มีอาการแดง ผื่น รู้สึกคัน ผิวหนังลอกเป็นสะเก็ดแผ่นๆ สะเก็ดจะมีลักษณะมัน ต่างจากสะเก็ดของโรคสะเก็ดเงิน ที่มีลักษณะขาวขุ่น แห้ง                                
            - บางรายจะมีอาการแสบหากโดนเหงื่อ โดนแสงแดด และมักจะเกิดอาการในบริเวณที่มีต่อมน้ำมันมากก่อนบริเวณอื่น หรือมีรังแคมากบริเวณศีรษะ แม้จะสระผมเป็นประจำ ก็ยังมีรังแค ซึ่งเป็นไปได้ว่าไม่ได้เกิดจากความสกปรก แต่เกิดจากโรคเซ็บเดิร์มที่ทำให้ผิวหนังเกิดการลอกผิวหนัง                                                                  
            - บางรายจะเกิดโรคบริเวณระหว่างคิ้ว ในหู หลังหู หลังจมูก รอบปาก ข้อพับ เพราะบริเวณนี้จะมีต่อมน้ำมันมากกว่าส่วนอื่น ในรายที่โรคอยู่ในระยะรุนแรง อาจเกิดผื่นได้ทั่วร่างกาย
          อาการของโรคเซ็บเดิร์มจะมีหลายระดับ เริ่มตั้งแต่การเกิดรังแคบริเวณหนังศีรษะ มีผื่นลอกที่หน้า มีผื่นตามลำตัว มีอาการคัน


ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค                                                                                  
          - เกิดจากภายในร่างกาย เช่น ระดับฮอร์โมนที่เปลี่ยนแปลงในเพศหญิง                
          - พันธุกรรม หากมีประวัติคนในครอบครัวเป็นโรคเซ็บเดิร์ม ก็สามารถถ่ายทอดต่อกันได้ โอกาสเป็นโรคจะเพิ่มมากขึ้น    
          - ความเครียด ภูมิต้านทานต่ำ อดอาหาร เหงื่อ
          - การเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ความชื้น ความร้อนจากแสงแดด                      
          - ฝุ่นละออง ควัน                                                                                  
          - การดื่มเหล้า
                                                                                                
          หากสามารถควบคุมปัจจัยเหล่านี้ได้ ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค ซึ่งโรคสามารถเกิดขึ้นได้ทุกช่วงเวลา เป็นแล้วสามารถกลับมาเป็นซ้ำได้หากมีปัจจัยทั้งภายในและภายนอกร่างกายไปกระตุ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆ ขึ้นอยู่กับการดำเนินชีวิตของแต่ละคน โรคเซ็บเดิร์มจัดเป็นโรคผิวหนังเรื้อรัง ที่ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรง ผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้บ่อย มักจะเข้าใจการดำเนินโรค เพราะเมื่อรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของการเกิดโรคของตนเอง หากควบคุมปัจจัยกระตุ้นนั้นได้ ก็จะไม่กลับมาเป็นโรคซ้ำ ในบางรายอาจเกิดโรคโดยไม่ทราบสาเหตุ เมื่อเปลี่ยนครีม เปลี่ยนผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ผิวก็เกิดการลอก แห้งเป็นขุย เปลี่ยนใช้ไปหลายๆ ชนิด อาการก็ยังไม่หาย และคิดว่าเกิดการแพ้ ซึ่งบางครั้งอาจไม่ได้เกิดจากผลิตภัณฑ์เหล่านั้น แต่เป็นเพราะผิวหนังมีการอักเสบ มีการลอกของผิว ผิวจึงแตกต่างกว่าผิวหนังทั่วไป เมื่อมีอะไรมาสัมผัสจึงเกิดการระคายเคืองได้ง่าย เกิดการแพ้ แม้แต่น้ำเปล่า เป็นเพราะผิวแพ้น้ำมันที่ร่างกายผลิตออกมา ทำให้เกิดการลอกของผิวหนัง การวินิจฉัยของแพทย์ จึงต้องถามผู้ป่วยว่า “คุณผิวมัน แต่ผิวลอกใช่ไหม” ผู้ป่วยส่วนมากมักมาด้วยลักษณะผิวหน้ามัน แต่ผิวหน้าลอก ซึ่งการรักษาด้วยการทาครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น จึงบรรเทาอาการไม่ได้ เพราะผิวลอกไม่ได้เกิดจากการขาดน้ำมัน แต่ลอกเพราะผิวหนังอักเสบ ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค
          จากการวิจัยโดยสถาบันโรคผิวหนัง พบว่าคนไทยประมาณ 30% เป็นโรคเซ็บเดิร์ม แต่มักไม่ได้รับการรักษา เพราะมองข้ามอาการเล็กๆ น้อยๆ เนื่องจากอาจจะมีอาการเป็นๆ หายๆ


กลุ่มเสี่ยง                                                                                                  
          - ในกลุ่มวัย 10 – 25 ปี เพราะมีการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน                                    
          - กลุ่มคนที่มีความเครียดสูง ทั้งจากการทำงาน, ความเครียด ฯลฯ                    
          - อาชีพที่มีการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศบ่อยครั้ง การทำงานไม่เป็นเวลาแน่นอน เช่น แอร์โฮสเตส, พยาบาล ฯลฯ                                                        
          - กลุ่มคนที่มีประวัติในครอบครัวเป็นโรคเซ็บเดิร์ม                                          
          - คนที่มีรังแคมาก
การรักษา                                                                                                            
          - จะใช้ยาในกลุ่มสเตรียรอยด์ มีความเข้มข้นต่ำ ในการควบคุมโรค เพื่อให้เกิดผลข้างเคียงกับผู้ใช้น้อยที่สุด                
          - ผู้ป่วยควรควบคุม หลีกเลี่ยง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรค                                        
          - หากเกิดรังแคบริเวณหนังศีรษะ จะแนะนำให้ผู้ป่วยใช้แชมพูที่มีตัวยาควบคุม ช่วยลดการแบ่งตัว ลดอาการคัน



แล้วพบกันบทความหน้านะครับ
นุชา

seb drem, รักษาเซบเดิร์ม, เซบเดิร์ม, เซบเดิร์มคืออะไร,

No comments:

Post a Comment