Tuesday, August 12, 2014

นมบัวหิมะ (Kefir) กับการรักษาสิว

สวัสดีครับปีนี้นุชาสังเกตได้ว่า เป็นปีที่หลายคนให้ความสนใจ และให้ความสำคัญการรักษาและดูแลสุขภาพตนเอง ตามแนวทางธรรมชาติมากขึ้น โดยหลายคนเน้นทานผัก ผลไม้ ปลอดสารเคมี ใช้สินค้า เครื่องสำอาง สบู่ แชมพู หรือ อะไรต่อมิอะไร ที่เป็นออแกนิก ผลิตจากธรรมชาติทั้งสิ้น

บัวหิมะที่นุชาเลี้ยงเมื่อก่อนครับ

วันนี้นุชาเลยจะมาพูดถึงเรื่อง นมบัวหิมะ (Kefir) ที่นุชาได้มีโอกาสได้ทดลองเลี้ยง ลองทานมานาน จำความได้ว่า เลี้ยงตายไป สามสี่รอบได้แล้ว และปัจจุบันก็ตายไปถาวร ถ้ามีอารมณ์หรือให้มาฟรีก็อยากจะเลี้ยงต่ออยู่นะครับ




เหตุผลเดียวที่นุชา หันมาสนใจการทาน นมบัวหิมะ (kefir) ในช่วงเวลาที่ผ่านมา คงปฏิเสธไม่ได้ว่าเพราะต้องการรักษา "สิว" ของตัวเองให้หายขาดครับ เลยสรรหามาทานและเลี้ยงดู


นุชาจำได้ว่าเมื่อปลายปีก่อน ปี 2556 นุชาได้ขอบัวหิมะมาจาก คุณเบิร์ด ทางอีเมลล์ ซึ่งพี่เขาส่งมาให้นุชาฟรีครับ แต่เสียใจมาก เนื่องจากกลับบ้านที่เชียงราย ลืมกรองนม และเอาตัวบัวหิมะใส่ตู้เย็น พอกลับมาถึง กทม. ดูบัวหิมะอีกที ตายซะแล้ว เป็นสีดำ ฟองฟู เลยครับ

ภาชนะที่ใช้สำหรับเลี้ยงบัวหิมะครับ

มาพูดถึงเรื่องรสชาติกันก่อนนะครับ บอกตรงๆ คือ นมบูดครับ นุชาไม่ชอบการดื่มนมวัว จึงใช้นมถั่วเหลือง หมักเลี้ยงแทนครับ อย่างที่บอก ถ้าหมักด้วยนมวัวจะกลิ่นเปรี่้ยวเหมือนนมบูม รสชาติก็ดว้ยครับ ถ้าเลี้ยงด้วยนมถั่วเหลือง สำหรับนุชา บัวหิมะเติบโตช้า แต่ทานง่ายกว่า และเปรี่ยวน้อยกว่า และอร่อยกว่าครับ

1 แก้วก่อนนอน

ประสบการณ์ในการทาน นุชาทานประมาณ 5-6 เดือน ครับ และหยุดไป เนื่องด้วยสาเหตุเพราะว่า มันเลี่ยงค่อนข้างยาก และต้องรักษาความสะอาดมากๆ และอีกสาเหตุที่เลิกทานไปในตอนนั้นคือ เป็นความดันต่ำ และเรอเปรี้ยวครับ มาสังเกตดูแล้วน่าจะเกิดจากที่นุชาทานบัวหิมะทุกวัน เนื่องด้วยนมมีสภาพเป็นกรดมาก ทำให้นุชาเกิดอาการดังกล่าว เมื่อหยุดไปอาหารก็ดีขึ้นและหายไปครับ ไม่ได้ว่าบัวหิมะไม่ดีนะครับ บัวกิมะดีนะ ช่วยเรื่องระบบขับถ่ายให้ถ่ายคล่องมาก แต่อาจจะไม่เหมาะถ้าทานมาก หรือนานเกินไปครับ


รายละเอียดในส่วนที่ว่า บัวหิมะคืออะไร เลี้ยงอย่างไร นุชาได้ไปเปิดเจอบทความที่น่าสนใจ เขียนโดย รองศาสตราจารย์พรผจง เลาหวิเชียร ผู้อำนวยการวิทยาลัยการแพทย์ทางเลือก ให้รายละเอียดไว้ชัดเจนแล้ว จึงขอยกบทความทั้งหมดที่เขียน มาให้ทุกๆ ท่านได้อ่านเลยนะครับ 
นมคีเฟอร์เป็นผลิตภัณฑ์นมที่มีการหมักเพื่อผลิตนมที่มีกรดและแอลกลฮอล์เล็กน้อย กรดโนนม ชนิดนี้เป็นกรดแอซีติกและกรดแลคติค ทำให้เกิดความเปรี้ยว นมหมักคีเฟอร์ผลิตจากการหมักนมกับเม็ดคีเฟอร์ (kefir grain)

ภาพจาก http://thescienceofeating.com/proteins/benefits-of-kefir/
การทำนมคีเฟอร์ เดิมทีแพร่หลายในชนเผ่าพื้นเมืองของพวกคอเคซัส โดยพระธิเบลจากเทือกเขาเกียนเป็นคนเผยแพร่ และศาสตราจารย์นายแพทย์ชาวโปแลนด์นำไปเผยแพร่ในยุโรปเนื่องจากสามารถรักษามะเร็งได้ ต่อมาได้กระจายทั่วไปในกลุ่มประเทศทางตะวันตก การหมักนมคีเฟอร์ในชนเผ่าดั้งเดิม หมักไว้ในถุงหนังสัตว์แล้ววางไว้ใกล้ประตูบ้าน เมื่อคนผ่านเข้าออกประตูบ้าน ก็จะผลักถุงหรือแตะถุงนมเพื่อให้เกิดการผสมกันของนม สำหรับในประเทศไทยส่วนใหญ่ได้รับเม็ดคีเฟอร์มาจากประเทศธิเบต “เม็ดคีเฟอร์” หรือที่รู้จักกันในนามของชื่อ “บัวหิมะ” คือ การรวมกลุ่มของจุลินทรีย์หลายชนิดประกอบด้วย แลกติกแผลซิคแบคทีเรีย (Lactic acid bacteria) แลกโตคอกไค (Lactococci) ลิวโคนอสตอกส์ (Lcuconostoc) และยีสต์ (yeast) หลากหลายชนิด

รวมถึงจุลินทรีย์อื่น ๆ อีกหลายชนิด ลักษณะเม็ดคีเฟอร์ มีสีขาวเหมือนดอกกะหล่ำ จุลินทร์เหล่านี้มาเกาะกลุ่มรวมกัน (cluster) แบบเอื้อประโยชน์แก่กันเป็นความสัมพันธ์แบบพึ่งพา (symbiosis) สร้างสารอาหารที่มีประโยชน์เป็นส่วนผสมในนมคีเฟอร์


แบคทีเรียและยีสต์หลายชนิดนี้ จะมีชีวิตอยู่รอดและเติบโตได้ดีต้องอาศัยการอยู่ร่วมกัน ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน ชีวิตหนึ่งจะอยู่รอดได้ขึ้นอยู่กับสิ่งมีชีวิตอีกหลายสายพันธุ์ ความสัมพันธุ์แบบนี้เป็นการส่งเสริมการเป็นอยู่ซึ่งกันและกัน เมื่อไหรที่จุลิทรีย์ทั้งหลายเหล่านี้มาอยู่ร่วมกัน ก็จะสร้างสารที่มีประโยชน์การแยกสายพันธุ์บริสุทธิ์ออกมาเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก


เนื่องจากจุลินทรีย์เหล่านี้ไม่สามารถอยู่อย่างโดเดี่ยวได้เมื่อที่แยกกันอยู่ จุลิทรีย์เหล่านี้ไม่สามารถที่จะเจริญเติบโตได้ และกิจกรรมทางชีวเคมีที่สร้างสารที่มีประโยชน์จะลดลง นี่คือตัวอย่างการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยอย่างแท้จริง (Margulis, 1995) การอยู่ร่วมกันของจุลินทรีย์เหล่านี้สอนสัจธรรมให้เราได้สำนึกว่า หากกลุ่มคนดีมาอยู่ร่วมกัน ช่วเหลือเกื้อกูลกัน เหมือนกลุ่มแบคทีเรีย และยีสต์ในคีเฟอร์ ย่อมสามารถสร้างสรรค์ค์ประโยชน์ให้สังคมได้อย่างใหญ่หลวง



นมคีเฟอร์ที่เกิดจากการหมักนมสดพลาสเจอร์ไรซ์กับเม็ดคีเฟอร์ เป็นนมที่มีลักษณะข้นเป็นครีมเนื้อละเอียด มีความสด รสเปรี้ยว มีฟองจากการหมักตัวของยีสต์ รสหวานเล็กน้อย เนื่องจากมีน้ำตาลแลคด๖ศ (lACTOSE) มีแรงตึงผิวน้อยทำให้ดื่มง่าย รสกลมกล่อมคล่องคอ มีกลิ่นเฉพาะตัว นมคีเฟอร์จะไม่บูดเพราะมีกรดจากแบคทีเรียในคีเฟอร์ ที่จะยับยั้งการทำงานของแบคทีเรียที่จะทำให้นมบูด



ภายหลังกระบวนการหมักนมคีเฟอร์ ผู้บริโภคสามารถกรองนมมาดื่มได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการฆ่าเชื้อ (Pastcurization) ดังนั้นในนมคีเฟอร์จึงยังคงมีแบคทีเรีย และยีสต์ที่มีชีวิต และเป็นประโยชน์อาศัยอยู่ ความจริงในร่างกายของคนจะมีแบคทีเรียตัวดีเหล่านี้ยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรียที่เป็นเชื้อโรค บางครั้งการบริโภคยาหลายชนิด หรือบริโภคสารเคมีปนเปื้อนเข้าไปในร่างกาย จะไปทำลายแบคทีเรียที่ดีมีประโยชน์ ทำให้ร่างกายเราอ่อนแอ ภูมิคุ้มกันโรคต่ำ


การดื่มนมคีเฟอร์จึงมีประโยชน์ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เพราะในนมคีเฟอร์มีแบคทีเรียตัวดีหลากหลายชนิดที่ทำหน้าที่คอยเป็นทหารเอกคอยช่วยเราอยู่ รวมทั้งยีสต์สายพันธุ์ที่มีประโยชน์ในคีเฟอร์ เช่น Saccharomyces kefir และ Torula kefir จะควบคุมและกำจัดยีสต์ที่เป็นโทษต่อร่างกาย โดยการสร้างสารเคลือบผนังทางเดินอาหาร ทำให้ทางเดินอาหารสะอาด และแข็งแรงขึ้นอย่างน่าทึ่ง


ส่วนประกอบในนมคีเฟอร์
แบคทีเรีย และยีสต์ได้ผลิตนมที่มีประโยชน์มาก เนื่องจากแบคทีเรียเหล่านี้สร้างสารที่มีคุณค่าแก่ร่างกาย ได้แก่ กรดอะมิโนหลายชนิด เช่น ไลซีน โปรลีน ซีสเทอิน ไอโซลิวซีน ฟินิลแอลละนิน และอาร์จินิน วิตามินบีรวมหลากหลายชนิด เช่น B6 B12 B13 ไบโอดิน กรดโฟลิกปริมาณสูงวิตามินซี แลกโดส กรดแลกติก และแอลกอฮอล์เล็กน้อย

ประโยชน์ของนมคีเฟอร์
 

      1. มีกรดโฟลิก (Folic acid) จำนวนมาก โดยเฉพาะหากทิ้งไว้ถึง 48 ชั่วโมง กรดโฟลิกจะเพิ่มมากถึง 116% จากปริมาณของนมเดิม กรดโฟลิกทำหน้าที่สร้างเลือด เม็ดเลือดแดงและป้องกันการพิการของทารกแรกเกิด จากผลการวิจัยพบว่า นมคีเฟอร์สามารถดื่มขณะมีครรภ์และสามารถนำมาเลี้ยงทารกได้ (Franworth,2003)
      2. มีน้ำตาลเชิงซ้อนที่ละลายน้ำได้ ได้แก่คีเฟอแรน (Kefiran) ซึ่งสามารถนำมาประยุกต์ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่นทำเครื่องสำอาง ใช้นมคีเฟอร์ทาใบหน้าจะช่วยกระชับรูขุมขน ทำให้ใบหน้าดูอ่อนเยาว์ เต่งตึง และยังช่วยขจัดสิว คีเฟอร์แรนยังช่วยป้องกันการเกิดแผลพุพองในปากที่เกิดจากเชื้อรา(Thrush) ชนิด C.alhicans
      3. มีวิตามินบีรวมหลายชนิด B6 B12 B13
      4. ช่วยขยายเส้นเลือด ทำให้โลหิตมีการไหลเวียนดี เนื่องจากผลการหมักนมจะมีแอลกอฮอล์เป็นส่วนประกอบเล็กน้อย ตั้งแต่ 0.02% ไม่เกิน 1.5 %
      5. มีวิตามิน เค ช่วยในการทำงานของตับไต
      6. ช่วยให้ระบบต่างๆ ของร่างกายสร้างระบบภูมิคุ้มกันชีวิตที่ดีขึ้น รักษาภูมิแพ้
      7. สามารถป้องกันโรคหัวใจ และระบบการทำงานของหัวใจที่บกพร่อง
      8. ช่วยให้การทำงานของตับ ม้ามดีขึ้น
      9. ป้องกันโรคนิ่วในถุงน้ำดี และช่วยสลายนิ่วในถุงน้ำดี
    10. สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ขจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย
    11. ช่วยปรับความดันโลหิตให้ปกติ
    12. ระงับการแพร่กระจายของโรคมะเร็ง
    13. ช่วยให้การทำงานของไต และกระเพาะปัสสาวะขึ้น
    14. ทำให้ร่างกายสดชื่น ไม่อ่อนเพลีย ลดความเครียดได้ เพราะในคีเฟอร์มีทิพโทแฟน (Tryptophan) จำนวนมาก ซึ่งเป็นกรดอะมิโนจำเป็น ช่วยการทำงานของระบบประสาท นอกจากนี้ในนมคีเฟอร์ยังมี Ca และ Mg มากทำให้ความเครียดคลายลง
    15. เนื่องจากนมชนิดนี้มีสภาพเป็นกรด จึงมีคุณค่าในการบำบัดโรค (Therapcutic) ของระบบทางเดินอาหาร โดยเชื้อแบคทีเรียที่มีประโยชน์ในนมคีเฟอร์ จะผลิตกรดออกมามีผลยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย ในลำไส้ และรักษาแผลในกระเพาะลำไส้ ลดการเกิดแก๊สในทางเดินอาหาร แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ และยังช่วยย่อยจึงทำให้ระบบขับถ่ายดี เนื่องจากนมคีเฟอร์อุดมสมบูรณ์ไปด้วยแร่ธาตุ และกรดอะมิโนที่จำเป็นมากชนิด จึงรักษาสุขภาพร่างกายได้แข็งแรง และโปรตีนในนมคีเฟอร์เป็นโปรตีนโมเลกุล ที่ง่ายต่อการดูดซึมไปเสริมสร้างร่างกาย ทำให้ร่างกายกลับมามีสุขภาพที่ดีขึ้น นอกจากนี้ เม็ดคีเฟอร์ยังช่วยลดคลอเรสเตอรอล ดดยถ้าหมักนม 24 ชั่วโมง ณ. อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซยสคลอเรสเตอรอลในนมจะลดลง 22.63 % จากปริมาณเริ่มต้น หมัก 48 ชั่วโมง คอลเรสเตอรอลในนมจะลดลง 41.84% ปัจจุบันมีการทดลองนำคีเฟอร์มารักษาคนไข้โรคเลือด เช่น ทลาสซีเมีย โลหิตจาง โรคเกร็ดเลือดต่ำ
    16. ใช้ลดความอ้วนได้ ด้วยการดื่มนมคีเฟอร์แทนอาหารมื้อค่ำ
    17. ช่วยย่อยน้ำตาลแลคโตส ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับขาดเอนไซม์ย่อยน้ำตาลในนม เมื่อดื่มนมคีเฟอร์แล้ว จุลินทรีย์ในนมคีเฟอร์จะช่วยย่อยน้ำตาลในนม ทำให้สามารถดื่มนมทุกชนิดได้โดยท้องไม่เสีย
ฯลฯ

http://users.chariot.net.au/~dna/Makekefir.html#Kefir-d-acqua
ส่วนประกอบ และภาชนะในการเตรียมนมคีเฟอร์
    1. เม็ดคีเฟอร์ 1-2 ช้อนโต๊ะ ต่อนม 1-2 ถ้วยประมาณ 200-250 ซีซี
    2. นมที่ใช้สามารถใช้นมสดจากวัว จากแพะ ได้ทุกชนิด ทั้งพร่องไขมัน และไม่พร่องไข่มัน แต่ต้องผ่านกระบวนการพลาสเจอร์ไรซ์ (Pastcurize) จากประสบการณ์ การทำนมคีเฟอร์ของผู้เขียน ถ้าทำนมคีเฟอร์โดยใช้นมไม่พร่องไขมันจะได้นมคีเฟอร์รสดีไม่เปรี้ยวมาก ถ้าใช้นมพร่องไขมันจะได้นมคีเฟอร์ที่รสเปรี้ยวมาก และเม็ดคีเฟอร์จะอ่อนแออยู่ได้ไม่นาน ถ้าใช้นมถั่วเหลือง เม็ดคีเฟอร์จะขนาดเล็กลงมาก
    3. ตะแกรงที่ใช้กรอง ช้อนตัก ควรใช้พลาสติก ไม้ ผ้า ไม่ควรใช้โลหะเพราะเม็ดคีเฟอร์เป็นกรด จะทำปฏิกิริยากับโลหะ เป็นผลต่อการเจริญ และผลผลิตของคีเฟอร์ได้ แต่อนุโลมให้ใช้ตะแกรงสแตนเลสได้ เนื่องจากเทผ่านเพื่อแยกเม็ดคีเฟอร์ในเวลาไม่นาน
   4. ขวดใส่คีเฟอร์เพื่อเลี้ยง ควรเป็นขวดปากกว้างเป็นแก้วหรือ พลาสติก ห้ามทำด้วยโลหะเด็ดขาดเพราะเม็ดคีเฟอร์อยู่ในขวดนาน ควรใช้ขวดขนาด 750 ซีซี ถึง 1 ลิตร



บทสรุปจากการทานและใช้บัวหิมะในการรักษาสิว จากนุชา


ทำให้นุชาทานว่าบัวหิมะไม่สามารถรักษาสิวได้ครับ ทั้งการทาน และการทาบนผิวหนัง แต่บัวหิมะจะช่วยปรับระบบการขับถ่ายให้ดีขึ้นและถ่ายท้องได้โล่งมากขึ้นครับ ซึ่งหากใครเป็นสิวที่เกิดจากการมีของเสียสะสมในบริเวณลำไส้ก็อาจจะช่วยได้นะครับ


นอกจากการทานแล้ว นุชายังทดลองการนำบัวหิมะมาพอกหน้า ได้ผลลัพธ์คือ หากพอกในระยะเวลา 10 นาที ผิวจับแล้วนุ่มๆ ดีครับ เนื่องจากบัวหิมะมีสภาวะเป็นกรดจึงทำให้เซลล์ผิวผลัดตัวเร็วขึ้นผิวจึงนุ่มครับ แต่หากพอกไว้นานเกินไป หน้าจะเกิดการระคายเคืองเป้นผื่นแดงได้ครับ หากใครเป็นสิวอยากลองเอาพอกหน้าโดยตรงไม่ควรนะครับ ควรหลีกเี่ยงเพระายิ่งจะเกิดการระคายเคืองได้ครับ


ตอนนี้นุชาไม่ได้เลี้ยงบัวหิมะไว้เพื่อทานแล้วครับ เนื่องจากวิธีีชีวิตที่เร่งรีบ และไม่มีเวลามาคอยเปลี่ยนนม และต้องรักษาความสะอาดมากๆ นุชาจึงเลือกช่องทางการเติบจุลินทรีย์ให้กับลำไส้โดยการทานโยเกิร์ตแทนครับ เพราะสามารถซื้อได้ง่ายกว่า และเมื่อเปรียบเทียบราคานม และความสะอาดต่อการเลี้ยงบัวหิมะนุชาเลือกที่จะทาน โยเกิร์ต ดีกว่าครับ แต่หากได้มาฟรีอีกอาจจะเลี้ยงครับเพราะจะเอามาพอกตัวดูบ้าง ตัวจะได้ใสๆ กว่านี้ครับ



แล้วพบกันบทความหน้าครับ
นุชา

13 สิงหาคม 2557

บัวหิมะ, บัวหิมะรักษาสิว, การเลี้ยงบัวหิมะ, บัวหิมะทิเบต,

No comments:

Post a Comment